วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/304/855/large_inter1.gif?1289121555


ผลกระทบองเทคโนโลยีสารสนเทศ


  • ผลกระทบทางบวก
         1) เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการและการผลิต ชีวิตคนในสังคมได้รับความสะดวกสบาย เช่น การติดต่อผ่านธนาคารด้วยระบบธนาคารที่บ้าน (Home Banking)
         2) เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น โดยสามารถเอาชนะเรื่องระยะทาง เวลา และสถานที่ได้ ด้วยความเร็วในการติดต่อสื่อสารที่เป็นเครือข่ายความเร็วสูง และที่เป็นเครือข่ายแบบไร้สายทำให้มนุษย์แต่ละคนในสังคมสามารถติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็ว
        3) มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในฐานข้อมูลความรู้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์ 
        4) เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือคนพิการให้สามารถพัฒนาทักษะและความรู้ได้
        5) พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Learning : CAL) 
        6) การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือช่วยลดเวลาในการทำงานให้น้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น เช่น การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) 
        7) ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสิ้นค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่และหลากหลายมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามต้องการ และช่องทางทางการค้าก็มีให้เลือกมากขึ้น
  • ผลกระทบทางลบ
        1) ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม เช่น  เครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์ทำให้คนตกงาน การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาแทนมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรมก็เพื่อลดต้นทุนการผลิต และผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
         2) ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก เช่น พฤติกรรมที่แสดงออกทางค่านิยมของเยาวชนด้านการแต่งกายและการบริโภค 
         3) ก่อให้เกิดผลด้านศิลธรรม เช่น เกิดการลอกเลียนแบบ อยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ๆ ที่ผิดศิลธรรม จนกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องในกลุ่มเยาวชน เมื่อเยาวชนปฏิบัติต่อๆ กันมาก็จะทำให้ศิลธรรมของประเทศนั้นๆเสื่อมสลายลง 
         4) การมีส่วนร่มของคนในสังคมลดน้อยลง
         5) การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
         6)  เกิดช่องว่างทางสังคม
         7) เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี คนที่ทำงานด้วยวิธีเก่าๆ ก็เกิดการต่อต้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เกิดความรู้สึกหวาดระแวงและวิตกกังวล เกรงกลัวว่าตนเองด้อยประสิทธิภาพ จึงเกิดสภาวะของความรู้สึกต่อต้าน กลัวสูญเสียคุณค่าของชีวิตการทำงาน
         8) อาชญากรรมบนเครือข่าย เช่น ไวรัสเครือข่ายการแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ ก่อให้เกิดการหลอกลวง และมีผลเสียติดตามมาลักษณะของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่รู้จักกันดีได้แก่ แฮกเกอร์ (Hacker) และแครกเกอร์ (Cracker) 
         9) ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ  เช่น โรคคลั่งอินเตอร์เน็ต เป็นโรคที่เกิดขึ้นในคนรุ่นใหม่ลักษณะ คือ แยกตัวออกจากสังคมและมีโลกส่วนตัว ไม่สนใจสภาพแวดล้อมก่อให้เกิดอาการป่วยทางจิตคลุ้มคลั่งสลับซึมเศร้า

http://www.thaigoodview.com/files/u42501/50.jpg


ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

  • มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์
         ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้ เราจะต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจถึงผลกระทบทางสังคมที่จะเกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่นเราอาจต้องการหาคำตอบว่า การที่มนุษย์ใช้โทรศัพท์มือถือ ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือไม่มีความจำเป็นต้องจดจำหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่ต้องการติดต่อด้วยอีกต่อไปหรือเราอาจต้องการหาคำตอบว่า อินเตอร์เน็ตมีผลอย่าไรต่อการศึกษา หรือคำตอบจากคำาถามที่ว่า โทรทัศน์วงจรปิดกระทบกับสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่

  • มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีกระทบซึ่งกันและกัน
          ภายใต้มุมมองแบบนี้ มีความเห็นว่าสังคมส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยี ทั้งนี้โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ เป็นเหตุปัจจัยในการออกแบบเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ งานได้ในขณะเดียวกัน มีผลมาจากประเด็นทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประหยัดทรัพยากรของหน่วยประมวลผลกลาง หรืออีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ กระแสความต้องการการสื่อสารที่รวดเร็วได้ผลักดันให้เกิดอินเตอร์เน็ตขึ้น

  • มุมมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลไกในการดำารงชีวิตของมนุษย์
         ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้จะมองว่าเทคโนโลยีสานสนเทศจะเป็นกลไกรสำคัญในการกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ จะถูกกำหนดว่าเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีซึ่งในโลกนี้ก็มีเทคโนโลยีการสื่อสารอย่าหลายรูปแบบแต่เทคโนโลยีที่มีความเสถียร จะเป็นทางเลือกและมนุษย์จะใช้เป็นกลไกในการดำรงชีวิต ดังเช่น คนที่มีและคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ จะแตกต่างจากคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว การที่มีโทรศัพท์มือถือแสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่สารมารถติดต่อได้สะดวก และเข้าถึงได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว จะเห็นได้ว่ากลไกรการดำรงชีวิตของคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ และไม่ใช้โทรศัพท์มือถือนั้นแตกต่างกัน เช่นเดียวกัน กลไกรในการดำรงชีวิตของสังคมที่ใช้อินเตอร์เน็ต ก็จะแตกต่างจากสังคมที่ไม่ใช้อินเตอร์เน็ต เป็นต้น

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic) ในตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น และในขณะเดียวกันยังตั้งใจที่ทำกิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ
  2. สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพึงรำลึกอยู่เสมอว่าในสังคมของเราวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควรเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือที่จะอำนวยความสะดวกเท่านั้น 
  3. ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าวัฒนธรรมที่ดีไว้ เป็นสิ่งจำเป็นในยุคสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น
  4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน ผู้รับผิดชอบในการจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและสมาชิกของสังคมพึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศแหลหาทางป้องกันภัยอันตรายเหล่านั้น
  5. ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย

ประเด็นพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

  • ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และทฤษฎีเรื่องจริยธรรม
         ข้อถกเถียงในเรื่องของจริยธรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นข้อโต้เถียงเพื่อที่จะหาสมดุลระหว่างจุดยืน ค่านิยม และสิทธิ ซึ่งสมดุลเหล่านี้ย่อมแตกต่างไปตามสภาพของแต่ละสังคม ยกตัวอย่างเช่น เราจะใช้แนวทางใดเพื่อปกป้องเยาวชนของเราเมื่อพวกเขาเข้าสู่สังคมอินเทอร์เน็ตแนวทางที่กำหนดขึ้นนี้มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างไร หรืออาจจะเป็นข้อถกเถียงในลักษณะแนวนโยบายในการคุ้มครองผู้ผลิตสินค้าดิจิตอลที่มีผลต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังซื้อและการใช้สินค้าไอที เป็นต้น

  • เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและการเมือง
          ผู้ผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศควรจะคำนึงถึงผลกระทบทางด้านจริยธรรมและการเมืองไว้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเอทีเอ็มที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้ได้กับคนปกติได้แต่ไม่สารมารถใช้งานได้กับคนตาบอด หรือคนพิการที่อยู่บทรถเข็น หรือคนที่มีปัญหาในการจำ ผลจากการออกแบบตู้เอทีเอ็มอย่างทุกวันนี้ ทำให้คนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ กรณีนี้จะเป็นการจำกัดสิทธิที่บุคคลพึงมีพึงได้ และจะเป็นปัญหาทางด้านจริยธรรม ที่อาจส่งผลกระทบทางด้านการเมืองหรือไม่ เป็นกรณีศึกษาที่พึงพิจารณา

  • เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์
          ในโลกเสมือนจริง การโต้ตอบสื่อสารผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถที่จะสร้างหรือกำหนดตัว
ตนขึ้นมาในโลกเสมือนได้อย่างไร้พรมแดน ผู้คนสามารถสร้างตัวตนในโลกเสมือนได้ไม่จำกัด โดยสร้างหรือแสดงให้ผู้อื่นจินตนาการหรือคิดให้ตัวตนใหม่นี้เป็นอย่างไรก็ได้ตามที่กำหนด โดยตัวตนที่แท้จริงอาจถูกซ่อนเร้นไว้ ดังตัวอย่างเช่น คนไม่สวยอาจถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นคนสวย คนอ้วนอาจถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นคนหุ่นดี อย่างไรก็ตามภายใต้โลกเสมือนนี้สามารถถูกทำให้เป็นส่วนหนึ่งแบ่งแยกออกจากสังคมจริงที่ยึดติดอยู่กับประเพณีและความคิดที่ถูกถ่ายทอดติดต่อกันมา การเข้ามาอยู่ในโลกเสมือนนี้ทำให้มีโอกาสได้แสดงตัวตน หรือแสดงความคิดเห็น โดยปราศจากการต่อต้าน หรือความลำเอียงในจิตใจ

การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

           ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นแกนกลางในการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน โดยมีกรอบสาระของกฎหมายในเรื่องต่างๆ ดังนี้
            ก. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) สาระของกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การ
คุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว ไม่ให้มีการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ
            ข. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Relate Crime) วัตถุประสงค์ของกฎหมาย
นี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร
            ค. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้มุ่งเน้น
ให้การคุ้มครองการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            ง. กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI) 
วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้เพื่ออำนวยการให้มีการทำนิติกรรมสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
            จ. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้
เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คู่กรณีในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการลงลายมือชื่อ
            ฉ. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer) วัตถุประสงค์ของกฎหมาย
นี้ก็เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโอนเงิน
            ช. กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law) วัตถุประสงค์เพื่อจัดการเปิดเสรีให้มีการ
แข่งขันที่เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ อนุญาตให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง
            ซ. กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
            ฌ. กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเทอร์เน็ต
            ญ. กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjnPCDpP3RUQj4hHgWwwLcvnfpCK_NEX8dWCqtVQ9K92ehAtLKxm3R6uHoHT5G4q7WUCFbjqNGlT_8dheHNoCF67HWQ3F5N_QYd9NfnxO6A0qxU7dFr0HfBHUPeyu9JhRLPcNOpQ7bxuS4/s1600/4962712.jpg

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgIEgzv2H2bXZRtdeAKCy1yJ9Aq3oPivU-VVKFLjdGa4Un0cJ0rOH0nsn_bbkvrsb3z0fw_ZV3KrpvMhFEO4nyAMoW8frb-uR66yYyLhbpeXxaLVYwg4a-9BBcHLo3BzefJRwwOh8fLQYU/s1600/001.jpg



1. ความปลอดภัยในด้านปกป้องข้อมูลเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต


-  Denial of Service คือการโจมตี เครื่องหรือเครือข่ายเพื่อให้เครื่องมีภาระงานหนักจนไม่
สามารถให้บริการได้ หรือทำงานได้ช้าลง
- Scan คือวิธีการเข้าสู่ระบบโดยใช้เครื่องมืออัตโนมัติหรือเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อ Scan  
สู่ระบบหรือหาช่องจากการติดตั้งหรือการกำหนดระบบผิดพลาด
- Malicious Code คือการหลอกส่งโปรแกรมให้โดยจริงๆ แล้วอาจเป็นไวรัส เวิร์ม ปละม้าโทรจัน
และถ้าเรียกโปรแกรมนั้น โปรแกรมที่แอบซ่อยไว้ก็จะทำงานตามที่กำหนด เช่น ทำลายข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ หรือเป็นจุดที่คอยส่งไวรัส เพื่อแพร่ไปยังยังที่อื่นต่อไปเป็นต้น

2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Viruses)


           หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ปรือชุดคำสั่ง ที่มนุษย์เขียนขึ้นมามีวัตถุประสงค์เพื่อรบกวนการ
ทำงานหรือทำลายข้อมูล รวมถึงแฟ้มข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ลักษณะการติดต่อของไวรัสคอมพิวเตอร์ คือไวรัสจะนำพาตังเองไปติด (Attach) กับโปรแกรมดังกล่าวก็เป็นเสมือนโปรแกรมพาหะในการนำพาไวรัสแพร่กระจายไปยังโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ หรือแม้กระทั่งแพร่กระจายในระบบเครือข่ายต่อไป อย่างไรก็ตามเราสามารถแบ่งไวรัสตอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นสองชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ Application viruses และ System viruses
      1) Application viruses จะมีผลหรือมีการแพร่กระจายไปยังโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ อาทิเช่น โปรแกรมประมวลผลคำ(Word Processing) หรือโปรแกรมตารางคำนวณ เป็นต้น การตรวจสอบการติดเชื่อไวรัสชนิดนี้ทำได้โดยดูจากขนาดของแฟ้ม (File size) ว่ามีขนาดเปลี่ยนไปจากเดิมมาน้อยแค่ไหน ถ้าแฟ้มมีขนาดโตขึ้น นั่นหมายถึงแฟ้มดังกล่าวอาจได้รับการติดเชื้อจากไวรัสชนิดนี้แล้ว
      2) System viruses ไวรัสชนิดนี้จะติดหรือแพร่กระจายในโปรแกรมจำพวกระบบปฏิบัติการ Operating systems) หรือโปรแกรมระบบอื่นๆ โดยไวรัสชนิดนี้มักจะแพร่เชื้อในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

           2.1 เวอร์ม (Worm)

           เวอร์มหรือมาโครไวรัส (Macro Virus) หมายถึงโปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่นๆ โดยจะ
แพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ที่อยู่บนเครือข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายกับ
ตัวหนอนที่เจาะไซหรือซอกซอนไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ และแพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอก (Copy) ตนเองออกและส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป เวอร์มเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ใช้มาโครโปรแกรม (Macro Programming) ที่อยู่ในโปรแกรมประยุกต์ในการกระจายหรือแพร่พันธุ์ตัวเอง เช่น มาโครในโปรแกรมไมโครซอฟต์เวอร์ด (Microsoft Word)
           2.2 โลจิกบอมบ์ (Logic bombs) หรือม้าโทรจัน (Trojan Harses)
           หมายถึงโปรแกรมซึ่งถูกออกแบบมาให้มีการทำงานในลักษณะถูกตั้งเวลาเหมือนระเบิดเวลาโลจิกบอมบ์ชนิดที่มีชื่อเสียงหรือมักกล่าวถึง มีชื่อว่า ม้าโทรจัน  ม้าโทรจันมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายโปรแกรมต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ เรามักเรียกการทำงานของม้าโทรจันว่า “ปฏิบัติการเพื่อล้วงความลับ” เมื่อโปรแกรมม้าโทรจันถูกโหลดไปในระบบคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ม้าโทรจันจะทำการดักจับรหัสผ่านหรือข้อมูลที่ใช้ในการ Login ของผู้ใช้ระบบฯ เพื่อนำ าข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ต่อไป โปรแกรมม้าโทรจันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำลายระบบ หรือสร้างความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันต่างจากไวรัส และหนอนคือมันไม่สามารถสำเนาตัวเองและแพร่กระจายตัวเองได้ แต่มันสามารถที่จะอาศัยตัวกลาง ซึ่งอาจเป็นโปรแกรมต่างๆ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือการไปโหลดไฟล์จากแหล่งต่างๆ
           2.3 ข่าวไวรัสหลอกลวง (Hoax)
           เป็นไวรัสประเภทหนึ่งซึ่งมาในรูปของการสื่อสารที่ต้องการให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เข้าใจผิด มักถูกส่งมาในรูปแบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ข่าวไวรัสหลอกลวงมักมีผลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมาก การส่งข้อความต่อๆ กันไปผ่านทางโปรแกรมรับส่งข้อความ หรือห้องสนทนาต่างๆ
           2.4 แนวทางหรือมาตรการในการป้องกัน (Security Measures)
           1) การกำาหนดแนวปฏิบัติ (Procedures) และนโยบายทั่วๆ ไปในองค์กร อาทิเช่น
- องค์กรมีนโยบายหรือมาตรการให้ผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทุกคนต้องเปลี่ยนรหัสผ่าน (Password) บ่อยๆ หรืออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
- มีการกำ าหนดสิทธิให้ผู้ใช้ระบบเข้าใช้ระบบในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
- องค์กรอาจมีการนำอุปกรณ์ตรวจจับทางชีวภาพ (Biometric devices) มาใช้ในการควบคุมการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์
- มีการเข้ารหัสข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
- มีระเบียบปฏิบัติในการควบคุมอย่างชัดแจ้งในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอในเรื่องการรักษาความปลอดภัย การเตรียมตัวและการป้องกันการ สม่ำเสมอในเรื่องการรักษาความปลอดภัย การเตรียมตัวและการป้องกันการ เสมอในเรื่องการรักษาความปลอดภัย การเตรียมตัวและการป้องกันการบุกรุกของแฮกเกอร์ (Hackers) หรือแครกเกอร์ (Crakers) รวมถึงขั้นตอนการดูแลรักษาระบบคอมพิวเตอร์เมื่อถูกบุกรุก
- องค์กรควรมีการดูแลและการตรวจตราข้อมูล แฟ้มข้อมูล รวมถึงการสำรองแฟ้มข้อมูล
และระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงระบบเครือข่าวอย่างสม่ำเสมอ
- การเก็บข้อมูลหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ตลอดเ วลา (Log files)
         2) การป้องกันโดยซอฟต์แวร์ (Virus protection software) ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสหลายชนิด ทั้งแบบซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์และซอฟต์แวร์ที่แจกฟรี  อาทิเช่น
- ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital signatures)
- การเข้าและถอดรหัส (Encryption)


http://nniwat.files.wordpress.com/2010/10/protect-computer-security-codes-and-passwords.jpg


3. ฟิชชิ่ง (Phishing)


          Phishing ออกเสียงคล้ายกับ fishing คือการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง โดยผู้ที่ทำการ
หลอกลวงซึ่งเรียกว่า Phishing จะใช้วิธีการปลอมแปลงอีเมล์ติดต่อไปยังผู้ใช้อินเตอร์เน็ตโดยหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเป็นจดหมายจากองค์กร หรือบริษัท ห้างร้านที่ผู้ใช้ทำการติดต่อหรือเป็นสมาชิกอยู่ โดยในเนื้อหาจดหมายอาจเป็นข้อความหลอกว่ามีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นและต้องการให้ผู้ใช้ยืนยันข้อมูลส่วนตัวอีกครั้ง ซึ่งก็จะเป็นข้อมูลส่วนตัวซึ่งเป็นความลับ และมีความสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้ระบบ Username รหัสผ่าน Password หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลบัญชีธนาคาร วิธีป้องกันและแนวทางรับมือกับ Phishing มีดังนี้
      1) ระวังอีเมล์ที่มีลักษณะในการข้อให้ท่านกรอกข้อมูลส่วนตัวใดๆ หรือยืนยันข้อมูลส่วนตัวใด ๆ โดยส่วนใหญ่เนื้อหาในจดหมายจะระบุว่าเป็นจดหมายเร่งด่วน ให้ดำเนินการกรอกข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง หากพบอีกเมล์ลักษณะดังกล่าวให้ลบอีกเมล์ดังกล่าวทันที และอาจใช้การโทรศัพท์ติดต่อกับทางองค์กร บริษัทห้างร้านด้วยตนเองอีกทีหากมีข้อสงสัย
     2) หากต้องการทำธุรกรรมใดๆ ควรไปที่อยู่โดยตรงโดยการพิมพ์ URL ใหม่
     3) ไม่ควรคลิกที่ hyperlink ใดๆ หรือรันไฟล์ใดๆ ที่มากับอีกเมล์ หรือโปรแกรมสนทนาต่างๆ จากบุคคลที่ไม่รู้จัก
     4) ควรติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบไวรัส และ Firewall เพื่อป้องกันการรับอีเมล์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือการสื่อสารจากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
     5) ควรติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงช่องโหว่ (Patch) ของซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่เราใช้งานอยู่ตลอดเวลา
     6) ในการกรอกข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญใดๆ ที่เว็บไซต์หนึ่งๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นเว็บไซต์ที่ถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งเว็บไซต์ที่ปลอดภัยจะใช้โปรโตคอล https:// แทน http://
     7) ควรตรวจสอบข้อมูลบัญชีธนาคาร บัตรเครดิตต่างๆ ที่มีการใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นประจำ

5. ไฟร์วอลล์ (Firewall)


            Firewall ไม่สามารถป้องกันการโจมตีจากภายในเครือข่ายกันเอง รวมทั้งไม่สามารป้องกันการบุกรุกที่ไม่สามารถมากับโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ไวรัส และอันตรายในรูปแบบวิธีใหม่ๆ ได้ สรุปว่า Firewall นั้นทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆ จากภายนอกที่จะเข้ามายังเครือข่ายของเรานั่นเอง Firewall ที่ใช้งาน จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ก็ยังต้องขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรนั้นๆ รวมถึงจิตสำนึกในการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้ในองค์กรเป็นสำคัญ



6. พร็อกซี่ (Proxy)


            Proxy Servers จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานทุกอย่าง ดังนั้นผู้ดูแลระบบสามารถที่จะตรวจสอบ
การบุกรุกได้นอกจากนี้ Proxy Servers ยังสามารถเก็บข้อมูลเว็บต่างๆ ที่เคยมีการร้องขอหรือบ่อยๆ หรือที่
พึ่งทำการร้องขอไปไว้ในหน่วยความจำได้ ดังนั้นเมื่อมีการร้องขอเว็บดังกล่าวอีก Proxy server สามารถนำข้อมูลเว็บที่ได้เก็บไวในหน่วยความจำส่งให้กับคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอ โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อไปยังเว็บนั้น ซึ่งก็จะช่วยให้การตอสนองเป็นไปอย่ารวดเร็ว แต่อย่าไรก็ตามการนำาข้อมูลเว็บที่มีอยู่ในหน่วยความจำมาแสดงเช่นนี้คงไม่เหมาะสำหรับ เว็บที่มีการปรับปรุงข้อมูลอยู่ตลอดเวลา เช่น เว็บที่นำเสนอข้อมูลปัจจุบัน ณ เวลานั้น เช่น เว็บตลาดหุ้น ซึ่งทำ าให้ผู้ใช้ได้รักข้อมูลที่ไม่ทันเหตุการณ์
           ในระบบ Intranet อาจมี Proxy Server หลายเครื่องก็ได้ ซึ่งอาจมีการแบ่งเป็น Proxy Server สำหรับ Web, Telnet, FTP และการบริการอื่นๆ โดยปกติแล้วบางบริการจำเป็นต้องมี Proxy Server แต่บางบริการก็ไม่จำเป็น ตัวอย่างเช่น การบริการที่เกี่ยวกับการถ่ายโอนข้อมูล เช่น Telnet และ FTP ควรที่จะต้องมี Proxy Server แต่สำหรับบริการบางอย่างที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ เช่น กระแสข้อมูลสื่อประสม (Streaming Multimedia) ก็ไม่สามารถใช้ Proxy Server ได้ เนื่องจาก Proxy Server ยังไม่ได้ถูกปรับปรุงให้รองรับกับบริการบางอย่างที่ถูกพัฒนาขึ้น ดังนั้นผู้ดูแลระบบจะต้องกำหนดเองว่าจะอนุญาตให้บริการเหล่านั้นผ่านเข้าสู่ระบบ Intranet หรือไม่ จนกว่า Proxy Server จะได้รับการปรับปรุงให้รองรับกับบริการเหล่านั้น

7. คุ้กกี้ (Cookies)


            Cookie คือแฟ้มข้อมูลชนิด Text ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ทำการจัดเก็บไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ของผู้ที่ไปเรียกใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น ซึ่งข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ Cookie นี้จะเป็นข้อมูลที่เราเข้าไปป้อนข้อมูล เช่น ข้อมูลชื่อ นามสกุล ที่อยู่ อีเมล์ ชื่อผู้ใช่ รหัสผ่าน หรือแม่แต่ รหัสบัตรเครดิตการ์ด ของเราเอาไว้ที่ไฟนี้ ซึ่งแต่ละเว็บไซต์ เมื่อเราเข้าไปใช้งานเว็บไซต์ในครั้งถัดๆ ไป ก็สามารถดูข้อมูลจาก Cookie นี้เพื่อให้ทราบว่าผู้ที่เข้าใช้เป็นใคร และมีข้อมูลส่วนตัวอะไรบ้าง

ประโยชน์ของ Cookies
   - เว็บไซต์สามารถใช้ประโยชน์จาก Cookie เพื่อให้ทราบจำนวนผู้ที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์เพราะผู้ใช่แต่ละคนจะถูกกำหนดหมายเลขไว้จากเว็บไซต์ ซึ่งทางเว็บไซต์ก็สามารถทราบได้ว่าเป็นผู้ใช่เก่าหรือใหม่ และผู้ใช้แต่ละคนเข้าใช้เว็บไซต์บ่อยแค่ไหน
    - เว็บไซต์ที่มีการซื้อขายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ สามารถที่จะตรวจสอบได้ว่าผู้ใช้เลือกซื้อสินค้าอะไรบ้าง ซึ่งผู้ใช้อาจยังไม่ต้องการจัดการเรื่องการสั่งซื้อในวันนั้นข้อมูลสินค้าที่ผู้ใช้เลือกไว้ก็สามารถถูกจัดเก็บไว้ที่ Cookie ก่อนเมื่อผู้ใช้เข้าใช้งานในครั้งถัดไปข้อมูลสินค้าที่เลือกไว้ ก็จะปรากฏขึ้นมาให้โดยไม่ต้องทำการเลือกใหม่อีก
ข้อควรระวังที่เกี่ยวกับ Cookies
  เนื่องจากข้อมูลที่ถูกเก็บใน Cookie อาจมีข้อมูลที่สำคัญ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลที่อยู่ ข้อมูล
อีเมล์ ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถูกส่งกลับไปมาระหว่างเครื่องผู้ใช้และเว็บไซต์ ซึ่งอาจมีการขโมยข้อมูลจากบุคคลอื่นได้ในระหว่างการถ่ายโอนไฟล์ ซึ่งผู้ใช้ควรระมัดระวังในการให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่เว็บไซต์

8. มาตรการควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตจากภัยคุกคามด้านจริยธรรม


          นโยบายจากกระทรวงไอซีที ด้วยตระหนักในการทวีความรุนแรงของปัญหา จึงเกิดโครงการ ไอซีที
ไซเบอร์แคร์ (ICT Cyber Care) โดยต่อยอดจากไอซีทีไซเบอร์คลีน (ICT Cyber Clean) แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1) ICT Gate Keeper เฝ้าระวังพิษภัยอินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายและวงจรเชื่อมต่อระหว่างประเทศ
(Gateway) พัฒนาซอฟต์แวร์นี้โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงไอซีที ได้มอบหมายให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังปิดกั้นข้อมูลไม่เหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง
2) House Keeper ซึ่งจัดทำเป็นแผ่นซีดีรอม และแจกฟรีให้กับผู้ปกครองหรือดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซต์ของกระทรวง โปรแกรมนี้จะมี 3 ส่วน
    - ส่วนแรก คิดดี้แคร์ ปิดกั้นเว็บไซต์อนาจารและเว็บที่ไม่เหมาะสมที่กระทรวงไอซีที มีข้อมูล
คาดว่าจะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
    - ต่อมาเป็นส่วนพีเพิลคลีน ติดไอคอนไว้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะคลิกเข้าไปเมื่อพบภาพลามกอนาจาร ประชาชนจึงสามารถเข้ามามีบทบาทช่วยเฝ้าระวังภัยได้เช่นกัน
    - ส่วนสุดท้าย สมาร์ทเกมเมอร์ (Smart Gamer) แก้ปัญหาการติดแกม และควบคุมการเล่นเกมของเด็กๆ ผู้ปกครองจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาของการเล่นเกมและช่วยดูแลเรื่องความรุนแรงของเกม แต่ละส่วนนี้คงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา
         โปรแกรมนี้จะพอช่วยบรรเทาปัญหาและเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย เช่น กลุ่มเว็บโป้ ลามกอนาจาร กลุ่มเว็บกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ กลุ่มเว็บสอนใช้ความรุนแรง ทารุณ สอนเพศศึกษาแบบผิด ๆ ใช้ภาษาหยาบคาย สอนขโมยข้อมูลคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งจะกล่าวถึงโดยละเอียดในบทที่ 8

http://www.acisonline.net/image/prinya_bevent17.jpg








วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjoDM-6cUC5j5bE8QEbzu9ojhdk6exdGPUIwZJeGQE8hOpBjkUBRGXlydFMSKItje8jFjZdbG9FBXLxAPDjfD6uJwOgQRrJQQL5wpZVna7QqR2zMJeLj-Ij6TCG0GgvPVp76LCnFMctAfI/s1600/globalnetwork.jpg


ขอบข่ายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

           1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System)  เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ และทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และให้สารสนเทศสรุปเบื้อง
ต้นของการปฏิบัติงานประจำวันโดยมากจะนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลมากขึ้นระบบประมวลผลรายการนี้มักเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้าหรือบุคคลภายนอก
มากติดต่อกับ กิจการ เช่น การจองบัตรโดยสารเครื่องบิน การฝาก-ถอนอัตโนมัต
            2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง เพื่อใช้ในการวางแผน บริหารจัดการและควบคุมงาน โดยทั่วไประบบนี้จะเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในระบบประมวลผลเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
            3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)  เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหาที่อาจมีโครงสร้างหรือขั้นตอนการหาคำตอบที่แน่นอนตายตัวเพียงบางส่วนหรือเป็นกรณีเฉพาะ หลักการของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสร้างขึ้นจากแนวคิดการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ใช้โต้ตอบตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ตลอดเวลา โดยอาศัยประสบการณ์วิจารณญาณ และความสามารถของผู้บริหารเอง โดยอาจจะใช้การจำลองแบบ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยไม่ต้องเสี่ยงกระทำในสภาพจริง


หน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ 

  • ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันอย่างรวดเร็ว ทั้งโทรศัพท์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต ฯลฯ   
  • เทคโนโลยีสารนิเทศใช้ในการจัดระบบข่าวสาร ซึ่งผลิตออกมาแต่ละวันเป็นจำนวนมหาศาล  
  • ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกไม่ว่าจะใช้กี่ครั้งก็ตาม 
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรในด้านการคำนวณ
    ตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ 
  • ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารสนเทศ
  • สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองผลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น 
  • อำนวยความสะดวกใน “การเข้าถึงสารสนเทศ” (ACCESS) ดีกว่าสมัยก่อนทำให้บุคคลและองค์กร
    มีทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า 
  • ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 

             การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาหลายเรื่องด้วยกันได้แก่  การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ ระบบประมวลภาพลักษณ์ ระบบประชุมทางไกล การวางแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานขนาดใหญ่ระดับกระทรวง กรม หรือบริษัทขนาดใหญ่จำเป็นจะต้องมีแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแผนที่สำหรับนำไปสู่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดมาตรฐานเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง การใช้ซอฟต์แวร์เป็นมาตรฐานเดียวกันจะทำให้หน่วยงานทำงานได้สะดวกขึ้น ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรมากนัก การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดองค์กร การบริหารงานพัฒนาระบบ การจัดการผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  การจัดการข้อมูล การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร  และการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


              1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน เช่น งานจัดเก็บเอกสาร ได้แก่ การใช้เครื่องประมวลผลคำ (Word Processing) เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียมอุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำานี้จำาแนกได้ 2 ระบบคือ  ระบบ Stand - Alone เป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ภายในคอมพิวเตอร์ชุดเดียว โดยไม่ผ่านช่องทางการสื่อสาร และระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ เครือข่ายสารสนเทศ เป็นต้น
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEipFryDfdroCrm9qkLBiVYWKlmXKjTeBh-S8iLHZiFhvMErFbeoa01dqIEQ60MlyuizDkqE2Y_jb2e9P_DyTDY8UttkZsWlP8nh3fqI1GhX5O9bpw8bBTE_Y5tQkqxWUtFm0yZudH_s-WlY/s1600/account_online_flow_enlarge.jpg

              2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) เข้ามาช่วยจัดการด้าน
ผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ ในโรงงาน MIS
               3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ สถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝากถอน โอนเงิน
               4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการบริการการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) 
               5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสาธารณสุข สามารถนำมาประยุกต์ได้หลายด้าน ได้แก่ ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS) เป็นระบบที่ช่วยด้าน Patient record หรือ เวชระเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน ระบบสาธารณสุข ใช้ในการดูแลป้องกันโรคระบาดในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยเป็นอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์วินิจฉัยโรค และเริ่มผู้นำมาประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ มากขึ้น เลยไปถึงเรื่องโรคพืชและสัตว์หลักการที่ใช้ คือ เก็บข้อมูลต่างๆไว้ให้ละเอียด แล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์หรือ Artifcial intelligence :AI มาช่วยวิเคราะห์ เป็นแนวคิดในการทำคอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนคน 
               6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา  เช่น  การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) การศึกษาทางไกล เครือข่ายการศึกษาเป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษา เพื่อให้ครู อาจารย์ และนักเรียนนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมายในโลก และใช้บริการต่างๆ การใช้งานห้องสมุด ในปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน  การใช้งานในห้องปฏิบัติการ การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษา การเลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กาแนะแนวอาชีพ และศึกษาต่อ ข้อมูลผู้ปกครอง หรือ ข้อมูลครู

ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software)

            ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม  คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้คนสามารถนัดพบปะ เชื่อมสัมพันธ์หรือทำงาน
ร่วมกันโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง เกิดเป็นสังคมหรือชุมชนออนไลน์ คำนี้มีความหมายมากกว่าสื่อเก่าๆ   อย่าง Mailing List และ UseNet กล่าวคือหมายรวมถึง E-mail,  msn, instant messaging, web, blog 
และ wiki  สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกันเรียกว่า collaborative software ในการศึกษาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น  เราต้องทำความเข้าใจกับคำว่า ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมก่อน ส่วนการจำแนกกลุ่มของซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น ในตอนนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และ กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการจัดการความรู้ เครื่องมือที่จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมมีลักษณะการใช้ประโยชน์ร่วมกันในสังคมมนุษย์ เช่น การติดต่อสื่อสาร การแบ่งปันความรู้  การจัดการความรู้

ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
            
             เครื่องมือซอฟต์แวร์สังคม สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร 
และเครื่องมือเพื่อการจัดการความรู้ 
        1)  เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารสองฝ่ายไม่พร้อมกัน (asynchronous) คือไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน  ตัวอย่างเช่น การใช้ E-mail , Web 
board , Newsgroup เป็นต้น และอีกประเภทหนึ่งคือ เครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารคนสองคนหรือเป็นกลุ่มแบบสองฝ่ายพร้อมกัน (synchronous ) เช่น การสนทนาผ่านโปรแกรม Chat , ICQ , MSN  เป็นต้น 
        2) เครื่องมือเพื่อการสร้างการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในกลุ่มที่ใช้เพื่อประโยชน์
เพื่อการจัดการความรู้  มีหลายอย่าง  โดยแบบเบื้องต้นเช่น การสืบค้นข้อมูล  ส่วนในระดับถัดมา เป็น
เครื่องมือเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกัน  รวมทั้งให้ความรู้ และสร้างความรู้ใหม่ เช่น Wiki , Blog เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ในการการปฏิสัมพันธ์ต่างจากเครื่องมือเพื่อการสื่อสาร ตรงที่เครื่องมือเพื่อการปฏิสัมพันธ์นี้มุ่งเน้นเพื่อเสริมสร้างการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ใช้โดยอาศัยกลไกของการพูดคุยสนทนากัน 

การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคม

              ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software) ใช้ประโยชน์ในการประมวลทางสังคม (Social computing) ในยุคที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นทุนในการพัฒนาสังคม ในยุคนี้มีความจำเป็นจะต้องสร้างระบบที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากสมาชิกในสังคมให้มากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมใหม่ให้กับภาคประชาสังคม บล็อก (blog) หรือที่บางคนเรียกว่ากล่องข้อความ เป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่สามารถใช้เพื่อการเสนอ (Post) ข้อความต่อผู้อื่นในสังคม โดยสามารถให้ผู้อ่านบล็อกมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น (comment) ต่อข้อความที่เสนอได้  ปัจเจกวิธาน (folksonomy) เป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่สามารถใช้ประโยชน์ในการจัดหมวดหมู่ แห่งสรรพสิ่งที่ผู้ใช้สนใจ  การเปิดโอกาสปัจเจกบุคคลได้มีโอกาสในการสื่อสารต่อสาธารณะเพื่อประมวลสังคมของพวกเขาได้ด้วยตนเอง  การค้นหาความรู้ การจัดเก็บความรู้ด้วยวิธีการสร้างฐานความรู้ (Knowledge base) และในกระบวนการแบ่งปันความรู้ก็มีการส่งเสริมการนำซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกันดังเช่นกรุ๊ฟแวร์ (groupware)มาใช้ประโยชน์็๋ 

การสืบค้นสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต

           ลักษณะรูปแบบการค้นหาสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต มี 3 ลักษณะ คือ
            
           1) การค้นแบบนามานุกรม (Directory) หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด เช่น www.yahoo.com  www.lycos.com  www.sanook.com www.siamguru.com

http://www.bloggang.com/data/all4u/picture/1208572590.jpg

              2)  การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคำสำคัญ (Keywords) เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ (Keyword) ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนีค้นที่เรียกว่า Spider หรือ Robot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ  เช่น การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator) เป็นต้น
             3) การค้นหาแบบ Meta search Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) 



               
             เครื่องมือประเภทใช้โปรแกรมค้นหา (Search engines)
             โปรแกรมค้นหาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ ค้นคืนสารสนเทศบน World Wide Web กันอย่างแพร่หลาย จัดทำดรรชนีของเนื้อหาเอกสารบนเว็บไซต์ทีละหน้าโดยจัดทำดรรชนีด้วยเครื่องกล (machine 
indexing หรือ automatic indexing) ซึ่งเรียกว่า  spider, robot หรือ crawlers  ข้อดีของการใช้โปรแกรมค้นหาคือ ครอบคุลมเนื้อหากว้างขวางและละเอียดเนื่องจากจัดทำดรรชนีทีละเว็บเพจ และ ฐานข้อมูลมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นปัจจุบันตลอดเวลา  แต่ข้อจำกัดของการค้นด้วยโปรแกรมค้นหาคือ ความเกี่ยวข้องของผลการสืบค้นน้อย เนื่องจากการจัดทำดรรชนี จัดทำโดยอัตโนมัติจากการนับจำนวนคำที่ปรากฏในส่วนแรกของเว็บเพจ และอาจปรากฏผลการสืบค้นซ้ำจากเว็บไซต์เดียวกัน ตัวอย่างเครื่องมือชนิดนี้ ได้แก่ Lycos (http://www.lycos.com) Asks (http://www.asks.com) Hotbot (http://www.hotbot.com) Google (http://www.google.com) 

http://cdn.redmondpie.com/wp-content/uploads/2009/11/TryOuttheNewGoogleSearch_D0C/NewGoogleSearch.jpg






วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ


         
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi-JbgV5c8HecTBeL3sMZLa1hZecrIHQ-sX_aKWmpbM8oYRqH1eZXKacQxlSmxAC5dNQixHGSlAfNddsYEZkRLOQdK0LhwK7dHd49F_3Hk5PhyphenhyphenuoAWfC3zy3pjXWVFfICq-LAgLt56dgns/s1600/it_2.jpg

             การจัดการสารสนเทศ ความหมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การโดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ

ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศ

             การจัดการสารสนเทศต่อบุคคล  ต้องการสารสนเทศเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ ต้องจัดการค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล การดูแลอาคารที่อยู่อาศัยต่างๆ ตลอดจนการเลี้ยงดูคนในครอบครัวให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถที่ทำคุณประโยชน์แก่สังคม จึงจำเป็นต้องคัดกรองสารสนเทศที่มีอยู่มากมายจากหลายแหล่งเพื่อจัดเก็บ จัดทำระบบ และเรียกใช้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วความสำคัญในด้านการศึกษา การจัดการสารสนเทศด้านระบบการศึกษา เอื้ออำนวยให้บุคคลสามารถเลือกระบบการศึกษา การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับบุคคลแต่ละคน สามารถเรียนรู้และศึกษาได้ตลอดเวลาตามความสนใจเฉพาะตน โดยไม่จำเป็นต้องสอบเข้าศึกษาตามสถาบันการศึกษาที่จัดระบบที่มีชั้นเรียนตลอดไป บุคคลสามารถเลือกศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา ติดต่อกับสถาบันการศึกษาในระบบเปิดหรือเรียนทางระบบออนไลน์ และเลือกเรียนได้ทุกระดับการศึกษา ทุกวัย นับเป็นปรัชญาการศึกษาตลอดชีวิต ความสำคัญในด้านการทำงาน บุคคลจำเป็นต้องใช้สารสนเทศทั้งที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ภาระหน้าที่ ประกอบการทำงานทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการการจัดเก็บสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบตามภารกิจส่วนตน ช่วยสนับสนุนให้สามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ทันการณ์ ทันเวลา
            การจัดการสารสนเทศต่อองค์การ  ความสำคัญด้านการบริหารจัดการผู้บริหารต้องอาศัยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ทางเลือกในการแก้ปัญหาการตัดสินใจ การกำหนดทิศทางขององค์การ ให้สามารถแข่งขันกับองค์การคู่แข่งต่างๆ จึงจำเป็นต้องได้รับสารสนเทศ ที่เหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน ทันการณ์ และทันสมัย เพื่อใช้ประกอบภารกิจตามหน้าที่ ตามระดับการบริหาร  ความสำคัญด้านการดำเนินงานการจัดการสารสนเทศช่วยให้การใช้สารสนเทศเพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามกระแสงานหรือขั้นตอน จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน เอื้อให้เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวก การเป็นหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานเช่น สัญญาการตกลงลงนามร่วมกิจการระหว่างองค์การ รายงานทางการเงินประจำปี
          ความสำคัญด้านกฎหมายสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการเงินและบัญชีที่ต้องรวบรวมจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ รวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องทั้งจากหน่วยงานภายในองค์การ หรือจากหน่วยงานภายนอกตามกฎหมาย เช่น ผู้ตรวจสอบบัญชีตามกฎหมายของหน่วยงานราชการ เช่น กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และหน่วยงานเอกชน เป็นต้น เพื่อเป็นการแสดงสถานะทางการเงินขององค์การอย่างถูกต้อง และเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ อย่างครบถ้วน

พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศ


  1. การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ  สำหรับการจัดการสารสนเทศในสำนักงาน ระบบดั้งเดิม ใช้ระบบมือ หรือกำลังคนเป็นหลัก การจัดการเอกสารซึ่งใช้กระดาษระยะแรกจัดเก็บตามการรับเข้า และส่งออกตามลำดับเวลา มีการจัดทำทะเบียนเอกสารรับเข้า - ส่งออกในสมุดรับ – ส่งและจัดทำบัญชีรายการเอกสารด้วยลายมือเป็นรูปเล่ม ต่อมาพัฒนาเป็นจัดเก็บเอกสารโต้ตอบเฉพาะเรื่องไว้ในแฟ้มเรื่องเดียวกันในตู้เก็บเอกสาร โดยพัฒนาเป็นหมวดหมู่ของระบบงานสารบรรณเอกสาร การจัดเก็บ อาจจัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อหน่วยงาน ชื่อบุคคล ตามเนื้อหาตัวเลข ตัวอักษรผสมตัวเลข ลำดับเวลา และตามรหัส และมีการทำดรรชนี กำหนดรหัสสี มีการทำบัตรโยงในตู้เก็บเอกสาร เป็นต้น เพื่อความสะดวกในการค้นหา มีการทำบัญชีรายการสำหรับค้นเอกสารสารบรรณที่ต่อมาใช้เครื่องพิมพ์ดีดแทน การเขียน
  2. การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์  เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องมีขั้นตอนการจัดการที่ดีและเป็นระบบ โดยเริ่มตั้งแต่ การรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการดูแลรักษา ซึ่งจะแยกเป็นรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1) การรวบรวมข้อมูล  2) การตรวจสอบข้อมูล  3)การประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ  4) การดูแลรักษาสารสนเทศ  5)การสื่อสาร

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ

            การจัดการสารสนเทศยังครอบคลุมถึงการจัดการความรู้ จากช่วงปลายทศวรรษ 1990 การแข่งขันและการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหน่วยงาน องค์การต่างๆ ทำให้เกิดการแสวงหา การเห็นคุณค่าของความรู้ ทั้งความรู้เด่นชัดที่เป็นความรู้ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร ตำราวิชาการ คู่มือปฏิบัติงาน มีการรวบรวมและประมวลไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นระบบ และความรู้ซ่อนเร้นหรือความรู้ฝังลึก ที่แฝงอยู่ในตัวคน ในสติปัญญาของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มงาน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญานับได้ว่าความรู้ต่างๆ ของบุคลากรเปรียบได้กับทุนทางปัญญา (intellectual capital) การนำความรู้จากบุคคลหรือกลุ่มงานมาใช้ประโยชน์แก่หน่วยงานจึงต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เป็นการจัดการความรู้ วงการวิชาการด้านสารสนเทศจึงมีการกำหนดความหมายของการจัดการความรู้ไว้ดังนี้
            การจัดการความรู้ หรือ เคเอ็ม (Knowledge Management -- KM) หมายถึง การมุ่งรวบรวมประมวลและจัดความรู้ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างและการแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคลากรเหล่านั้น อันก่อให้เกิดการเรียนรู้และท้ายสุดนำไปสู่ประโยชน์ต่อองค์การ (สมพร พุทธาพิทักษ์ผล 2546: 30)โดยสรุป การจัดการความรู้จึงเป็นกระบวนการในการมุ่งรวบรวม ประมวล และจัดการความรู้ทั้งความรู้เด่นชัด และความรู้ซ่อนเร้นหรือความรู้ฝังลึก เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างและการแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคลากร อันก่อให้เกิดการเรียนรู้ และท้ายสุดนำไปสู่ประโยชน์ในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการดำเนินงานต่อองค์การนั้นๆ

การจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

            การเชื่อมต่อระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน ความต้องการทางธุรกิจที่หลากหลาย รวมถึงความซับซ้อนของโครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการการจัดการสารสนเทศ ต้องมีแบบแผนและหลักการที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและพัฒนาระบบได้ การจัดการสารสนเทศ เป็นคำกว้างๆ ที่ครอบคลุมระบบและกระบวนการทั้งหมดในองค์กรที่ใช้ในการสร้างและใช้งานสารสนเทศในองค์กร ในเชิงเทคโนโลยีการจัดการสารสนเทศ ประกอบด้วยระบบต่างๆ(ศักดา, 2550) ดังต่อไปนี้
  • การ จัดการ เนื้อหาใน เว็บไซต์ (web content management - CM)
  • การจัดการเอกสาร (document management - DM)
  • การจัดการด้านการจัดเก็บบันทึก (records management - RM)
  • โปรแกรมจัดการทรัพย์สินดิจิทัล (digital asset management - DAM)
  • ระบบการจัดการเรียนการสอน (learning management systems - LM)
  • ระบบการจัดเนื้อหาการสอน (learning content management systems - LCM)
  • ความร่วมมือ (collaboration )
  • การค้นคืนสารสนเทศในองค์กร ( enterprise search)
  • และอื่นๆ





วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

          คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก  เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้  คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุกรณ์ต่างๆเชื่อมต่อกันเรียกว่า  ฮาร์ดแวร์  และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เรียกกันว่า  ซอฟร์แวร์

           ฮาร์ดแวร์  ประกอบด้วย  5 ส่วน  ดั้งนี้
  • อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น เมาร์  จอภาพสัมผัส  ปากกาแสง  เป็นต้น
  • อุปกรณ์ส่งข้อมูลข่าวสาร (Output) จอภาพ เครื่องพิมพ์  และเทอร์มินัล
  • หน่วยประมวลผกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล
  • หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล
  • หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต      

          ซอฟต์แวร์  แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ  ซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด
  • โปรแกรมระบบปฏิบัติการใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น UNIX,DOS, Microsoft Windows 
  • โปรแกรมอรรถประโยชน์  ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor) 
  • โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

ซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด 


  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไป   ไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management เป็นต้น
  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้
  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่นๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่างๆ เป็นต้น
           
           สำหรับกระบวนการการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามต้องการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีคุณภาพ จะเริ่มด้วยการคัดเลือก การจัดหา การวิเคราะห์เนื้อหา และการค้นคืนสารสนเทศ  ซึ่งกระบวนการจัดการหรือจัดทำสารสนเทศเพื่อให้สามารถผลิตสารสนเทศสนองความต้องการของผู้ใช้ได้นั้น จะประกอบด้วยกรรมวิธี 3 ประการ คือ การนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลข้อมูล และกระบวนการทั้ง 3 ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ทำงานร่วมกัน

http://neung.kaengkhoi.ac.th/workm.4_m62551/m4_5/kunyapon/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1/P006A.jpg

   2.  เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

           เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกลๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์  ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice) ตัวอย่าง เช่น การส่งข้อมูลต่าง ๆ ของยานอวกาศที่อยู่นอกโลกมายังเครื่องคอมพิวเตอร์บนโลก เพื่อทำการคำนวณและประมวลผล ทำให้ทราบปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
           เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น 
           สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของ
ข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/
Decoder) 

http://www.contactcenter.cattelecom.com/thai/images/sat_connect.jpg


เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำาแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ 

            1) เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัลกล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
            2) เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ
            3) เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
            4) เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์
            5) เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
            6) เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกลเทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างสิ่งใหม่ให้กับสังคมปัจจุบันที่เรียกว่าเป็นสังคม    ไร้พรมแดนหรือสังคมโลกาภิวัตน์ (Globalization) ไว้มากมาย เช่น อินเทอร์เน็ต (Internet),  ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway), ระบบทีวีตามความต้องการ (Video On Demand), การประชุมผ่านทางจอภาพ (Video Conference) ฯลฯ

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

           การวิวัฒนาทางด้านเทคโนโลยีแบ่งเป็น 2 ด้านที่ควบคู่กันมา คือ วิวัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์และวิวัฒนาการทางด้านการสื่อสาร 
           
http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340202500/pit/qw.jpg

http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340202500/pit/qw3.jpg



           ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า “สัญญาณอนาลอก” แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า “สัญญาณดิจิตอล”  ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “โมเด็ม” (Modem)

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ




  • การรู้สารสนเทศ  ความถึง  การรู้ถึงความจำเป็นของสารสนเทศ(ข้อมูลข่าวสาร) การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ  การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  การวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ  การจัดระบบประมวลสารสนเทศ  การประยุกต์ใช้สารสนเทสเพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิผลและสร้างสรรค์ กาารสรุปอ้างอิงและสื่อสารข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพ  ความเข้าใจและยอมรับในจริยธรรมของข้อมูลข่าวสาร  การพัฒนาเจนคตินำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • การรู้สารสนเทศจึงเป็นเป้าหมายการเรียนรู้สำคัญของบุคคล การรู้สารสนเทศต้องอาศัยความสามารถในการเข้าถึง ประเมิน และการใช้สารสนเทศ การรู้สารสนเทศจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้าง คุณลักษณะให้บุคคลเป็นผู้มีความรู้ มีความคิดวิเคราะห์ มีความสามารถด้านสารสนเทศ และช่วยให้บุคคล เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต

องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
  1. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ ประกอบด้วยความสามารถทางกายภาพ และสติปัญญา ในการเข้าถึงสารสนเทศ ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี สามารถระบุแหล่งและสืบค้น ด้วยการใช้ ความรู้และกลยุทธ์เพื่อคัดสรร แก้ไข วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และสื่อสาร กับฐานข้อมูลทั่วไป และ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่นซีดีรอม อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
  2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ ประกอบด้วยความสามารถในการสังเคราะห์ หรือตีความ สามารถตัดสินใจได้ว่าแหล่งสารสนเทศใดมีความน่าเชื่อถือ โดยอาศัยข้อเท็จจริงและความเที่ยงตรง ซึ่งเป็น พื้นฐานสำคัญในการประเมินสารสนเทศ 
  3. ความสามารถในการใช้สารสนเทศ ประกอบด้วยความเข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ รวมถึงมารยาทการใช้สารสนเทศ และประสิทธิภาพในการ จัดการสารสนเทศที่สืบค้นได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้


คุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศ

         SUNY Council of Library Directors Information Literacy Initiative (2003) ได้ เสนอ คุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศของบุคคลดังนี้
  1. ตระหนักถึงความจำเป็นของสารสนเทศ
  2. สามารถกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น
  3. เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้
  5. นำสารสนเทศที่คัดสรรแล้วสู่พื้นความรู้เดิมได้
  6. มีประสิทธิภาพในการใช้สารสนเทศได้ตรงตามวัตถุประสงค์
  7. เข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและกฎหมายในหารใช้สารสนเทศ
  8. เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
  9. แบ่งประเภทจัดเก็บและสร้างความเหมาะสมให้กับสารสนเทศที่รวบรวมไว้
  10. ตระหนักว่าการรู้สารสนเทศช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต


มาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศ

        American Association of School Librarians & Association for Educational Communications and Technology (2004) ได้เสนอมาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศไว้ 3 ระดับด้วยกัน กล่าวคือ มาตรฐานทั่วไป ประกอบด้วย มาตรฐานที่1-3 การเรียนรู้อย่างอิสระประกอบด้วยมาตรฐานที่ 4-6 และความรับผิดชอบต่อ สังคมประกอบด้วยมาตรฐานที่7-8 ดังต่อไปนี้

มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนประเมินสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และอย่างมีความสามารถ
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนให้สารสนเทศอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ การเรียนรู้อย่างอิสระ
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ และแสวงหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความสนใจส่วนตัวได้
มาตรฐานที่ 5 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศ ที่สืบค้นได้จากแหล่งต่าง ๆ และนำเสนอสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนที่มีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ ต้องมุ่งแสวงหาสารสนเทศ และสร้าง องค์ความรู้อย่างยอดเยี่ยม ความรับผิดชอบต่อสังคม
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศและ ตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมประชาธิปไตย
มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศ และฝึกฝน ให้มีพฤติกรรมที่มีจริยธรรม อันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ

แนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ

         แนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศมีหลายแนวทาง หากแนวทางที่มีรูปธรรมชัดเจนจากประเทศ สหรัฐอเมริกา คือ TheBig 6 Skills Model ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาชื่อ Mike Eisenberg และ Bob Berkowitz (2001-2006) โดยได้นำไปใช้ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับอุดมศึกษา เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่ หลาย มีการนำไปประยุกต์เพื่อการเรียนการสอนทักษะสารสนเทศในสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยมี 6 ขั้น ตอน ได้แก่
 
ขั้นตอนที่ 1การกำหนด ภาระงาน (Task Definition) เป็นการระบุปัญหา หรือกำหนดขอบเขต ของสารสนเทศที่ต้องการใช้ และกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาสารสนเทศในขั้นต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดกลยุทธ์แสวงหาสารสนเทศ (Information Seeking Strategies) เป็นการ กำหนดว่าแหล่งสารสนเทศใดมีสารสนเทศที่ต้องการ และประเมินความเหมาะสมของแหล่งสารสนเทศกับ ปัญหาที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น เพื่อให้สารสนเทศได้ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดแหล่งสารสนเทศและการเข้าถึงสารสนเทศ (Location and Access) เป็นการระบุแหล่งที่อยู่ของสารสนเทศและค้นหาสารสนเทศตามแหล่งสารสนเทศที่ได้กำหนดไว้
ขั้นตอนที่ 4 การใช้สารสนเทศ (Use of Information) เป็นการอ่าน พิจารณาสารสนเทศที่ต้องการ และคัดเลือกข้อมูข่าวสารที่เกี่ยวข้องออกมาใช้ได้ตรงกับที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศ ที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆ และนำเสนอสารสนเทศ
ขั้นตอนที่ 6 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศ ที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆ และนำเสนอสารสนเทศ

          สำหรับในประเทศงานวิจัยการพัฒนารูปแบบการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทย (อาชัญญา รัตน อุบล และคณะ, 2550) ได้สังเคราะห์และพัฒนารูปแบบการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทยขึ้นโดยมีพื้นฐาน จาก The Big 6 Skills Model ดังกล่าวข้างต้น มี 4 ขั้นตอนได้แก่
  1. กำหนดภารกิจคือต้องการรู้อะไรปัญหาหรือข้อสงสัยคืออะไร
  2. ตรงจุดเข้าถึงแหล่งคือการหาคำตอบว่าอยู่ที่ไหน มีวิธีเข้าถึงและการใช้แหล่งความรู้ได้อย่างไร
  3. ประเมินสารสนเทศ คือ การคัดสรรสารสนเทศอย่างไรให้ตรงกับสิ่งที่ต้องการรู้ และน่าเชื่อถือ
  4. บูรณาการวิถีการใช้งาน คือ การมีวิธีใดใช้ในการนำสิ่งที่ค้นพบมาสรุป นำเสนอและสื่อสารกับผู้ อื่นประยุกต์ใช้แก้ปัญหาใช้อย่างมีจรรยาบรรณและถูกกฎหมาย
ประโยชน์ของการรู้สารสนเทศ

         การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ การจัดระบบประมวลสารสนเทศ การประยุกต์ใช้สารสนเทศ เพื่อการ ตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ การสรุปอ้างอิงและสื่อสารข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพ ความ เข้าใจและยอมรับในจริยธรรมของข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาเจตคติที่นำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อนำไป สู่การรู้สารสนเทศอย่างแท้จริง

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 บทบาทของสารสนเทศกับสังคม

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiQDGtk5_tDHO2fbiGAxEvVSU-I5Evl6-mJU0DQUxQqIRoWWIPmCneK8_fMBg7K-m98XRg8Fl9TaXi4KMXW7Ks63pVo1VBGSyWYlJlXbFdIKMmdFMMLPY_NtAvKi5lkQuRHD3-JeA0ZVf4/s1600/pic1_01_1.jpg

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน


         ในภาวะปัจจุบันนั้นสารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานปัจจัยที่ห้า เพิ่มจากปัจจัยสี่ประการที่มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดารงชีวิตประจาวัน ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำเป็น ในการประกอบธุรกิจ ในการค้าขาย การผลิตสินค้า และบริการ หรือการให้บริการสังคม การจัดการทรัพยากรของชาติ การบริหารและปกครอง จนถึงเรื่องเบาๆ เรื่องไร้สาระบ้าง เช่น สภากาแฟที่สามารถพบได้ทุกแห่งหนในสังคม เรื่องสาระบันเทิงในยามพักผ่อน ไปจนถึงเรื่องความเป็นความตาย เช่น ข่าวอุทกภัย วาตภัย หรือการทารัฐประหารและปฏิวัติ เป็นต้น

         เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ เรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สารสนเทศ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้ การจัดหา วิเคราะห์ ประมวล และจัดการกับข่าวสารข้อมูลจำานวนมหาศาล

         เทคโนโลยีเป็นยุทธศาสตร์สำคัญแห่งยุคปัจจุบันและในอนาคตก็คือ ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถภาพในเกือบทุกๆ กิจกรรม  ดังนี้

  1. การลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย
  2. การเพิ่มคุณภาพของงาน 
  3. การสร้างกระบวนการหรือกรรมวิธีใหม่ๆ 
  4. การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ขึ้น 
         ภาคสังคม  การบริหารและปกครอง การให้บริการพื ้นฐานของรัฐ การบริการสาธารณสุข การบริการการศึกษา การให้บริการข้อมูลและสาระบันเทิง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การบรรเทาสาธารณภัย การพยากรณ์อากาศและอุตุนิยม ฯลฯ
         ภาคเศรษฐกิจ การเกษตร การป่าไม้ การประมง การสารวจและขุดเจาะน้ำามันและกาซธรรมชาติ  นามันและกาซธรรมชาติ  มันและกาซธรรมชาติ การสารวจแร่และทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนและใต้ผิวโลก การก่อสร้าง การคมนาคมทั้งทางบก น้ำและอากาศ การค้าภายในและระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมบริการ อาทิ ธุรกิจการท่องเที่ยว การเงิน การธนาคาร การขนส่ง และการประกันภัย ฯลฯ
         ผลประโยชน์ต่างๆ จากการประยุกต์ใช้ของเทคโนโลยีดังกล่าว ล้วนเกิดจากคุณสมบัติพิเศษหลายๆ ประการของเทคโนโลยีกลุ่มนี้ อันสืบเนื่องจากการพัฒนาของ เทคโนโลยีที่มีอัตราสูงและอย่างต่อเนื่องตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีนี้ส่งผลให้ 
  1. ราคาของฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ รวมทั้งค่าบริการ สาหรับการเก็บ การประมวล และการแลกเปลี่ยนเผยแพร่สารสนเทศมีการลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว 
  2. ทาให้สามารถนาพาอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งคอมพิวเตอร์และ โทรคมนาคมติดตามตัวได้ เนื่องจากได้มีพัฒนาการการย่อส่วนของชิ้นส่วน (miniaturization) และพัฒนาการการสื่อสารระบบไร้สาย
  3. ประการท้าย ที่จัดว่าสาคัญที่สุดก็ว่าได้คือ ทาให้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมุ่งเข้าสู่จุดที่ใกล้เคียงกัน (converge) ประเทศอุตสาหกรรมในโลกได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยียุทธศาสตร์กลุ่มนี้ จึงให้ความสาคัญต่อเทคโนโลยีนี้มากกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่จัดเป็นเทคโนโลยียุทธศาสตร์สาคัญอีกหลายกลุ่ม ดังเช่นกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ได้ศึกษาเปรียบเทียบ ศักยภาพของเทคโนโลยีไฮเทค 5 กลุ่มสาคัญในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ในประเด็นผลกระทบสาคัญ 5 ประเด็น ได้แก่   
               1) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ  
               2) การปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ
               3) การยอมรับจากสังคม 
               4) การนาไปใช้ประยุกต์ในภาค/สาขาอื่นๆ 
               5) การสร้างงานในทศวรรษปี 1990 ปรากฏว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับใน                          ศักยภาพสูงสุดในทุกๆ ประเด็น

 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม


          ในปัจจุบันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นอุตสาหกรรมผลิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก   มีการประมาณการว่าตลาดโลกสาหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์โทรคมนาคม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะมีขนาด 1,600 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 1994 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงร้อยละ 20 ต่อป
          การลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทาให้เกิดศักยภาพในการแข่งขัน จึงย่อมส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของนานาประเทศ จากผลการศึกษาใน 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก   ซึ่งมีทั้งประเทศที่ถือว่าพัฒนาแล้ว พัฒนาใหม่ และกาลังพัฒนา
         ในช่วงทศวรรษที่แล้ว หลายประเทศมีความวิตกว่าเทคโนโลยีนี้จะลดการว่าจ้างงาน และทาให้เกิด
ปัญหาการตกงานอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ชี้ให้เห็นถึงความสาคัญของการใช้เทคโนโลยีนี้ในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและในการสร้างกิจกรรมใหม่ๆ จนกล่าวไดว่าในทางสังคมแล้ว เทคโนโลยีนี้จะช่วยเพิ่มการจ้างแรงงานโดยรวมมากกว่าจะลดตามที่เข้าใจกัน ปัจจุบันประเทศกาลังพัฒนาต่างเริ่มตระหนักถึง บทบาทของเทคโนโลยีนี้ต่อการพัฒนาสังคมตามประเทศที่พัฒนาแล้ว และเล็งเห็นว่ามันสามารถจะก่อเกิดประโยชน์ต่างๆ นานา เช่น ทาให้การบริการที่หน่วยงานต่างๆ ของรัฐให้แก่ประชาชนมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่ต้นทุนตาลง  ลดต้นทุนการบริการสาธารณสุขขณะทเพิ่มปริมาณและคุณภาพของบริการสู่ประชาชนที่ยังไม่ได้รับบริการอย่างทั่วถึง และ สร้างโอกาสให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าและทุกวัยได้รับการศึกษาและฝึกอบรมอย่างกว้างขวาง เป็นต้น

         การใช้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถจะเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ในด้านต่างๆ แม้ว่าหากมองเฉพาะในขอบเขตของงานนั้นๆ ระบบคอมพิวเตอร์ อาจจะลดปริมาณการว่าจ้างงานเปรียบเทียบกับเมื่อไม่ใช้เทคโนโลยี แต่หากมองโดยรวมแล้ว การที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนสำาคัญ ช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูง ย่อมส่งผลให้เกิดการสร้างงานที่เพิ่มตามมา ข้อมูลในประเทศสหรัฐฯ
ตลอดกว่าศตวรรษที่ผ่านมา พบว่าการจ้างงานมิได้ลดลงจากการใช้เทคโนโลยี เริ่มต้นจากเครื่องจักรไอน้ำจวบจนเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน แต่กลับเพิ่มถึง 10 เท่าตัว จาก 12 ล้านคนในปี 1870 เป็น 116 ล้านในปี 1985 คิดเป็นอัตราส่วนจากร้อยละ 31 เป็นร้อยละ 48 ของประชากรทั้งหมด อีกทั้งบริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่กำาลังเกิดขึ้นหรือจะเกิดในอนาคตสืบเนื่องจากเทคโนโลยีนี้ ก็ยังจะนำาไปสู่การสร้างงานใหม่ๆ ตามมามากมายอีกด้วย เป็นต้นว่า ผู้เชี่ยวชาญได้คาดการณ์ว่าบริการโทรคมนาคมไร้สายต่างๆ ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศสหรัฐฯ จะสามารถสร้างงานเพิ่มขึ้นถึง 3 แสนคน ภายในระยะ 10-15 ปีข้างหน้า


สารสนเทศกับบุคคล 


          การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่มมากขึ้น สารสนเทศมีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง  และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยา และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องใกล้ชิดและเกี่ยวพันกับชีวิตประจาวันของมนุษย์ เช่น การถอนเงินอัตโนมัติ (ATM: Automatic Teller Machine) ธนาคารอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Banking) การซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ (e-Commerce) การประชุมทางไกล (Tele-Conference) การศึกษาทางไกล (Tele-Education) ระบบห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) การเข้าถึงบริการและสารสนเทศต่างๆ ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น 

สารสนเทศกับสังคม

  • ด้านการศึกษา มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูผู้สอนทำาหน้าที่เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ  และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง  ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา  สารสนเทศที่ดีมีคุณค่าและทันสมัย
  • ด้านสังคม ช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำามาซึ่งความสะดวกสบายในการดำาเนินชีวิต 
  • ด้านเศรษฐกิจ  ช่วยประหยัดเวลาในการผลิต ลดขั้นตอนการลองผิดลองถูก อีกทั้งช่วยให้องค์กรได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ตามความต้องการของตลาด 
  • ด้านวัฒนธรรม การสื่อสารไร้พรมแดนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำาให้ได้รับสารสนเทศจากทั่วโลก การสื่อสารกับผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกทำาได้อย่างเป็นปัจจุบัน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจึงมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เป็นสังคมโลก กล่าวคือมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด ในขณะที่ทุกแขนงวิชาและอาชีพก็จำาเป็นต้องปรับปรุงกลไกในวิชาชีพให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน

บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา


        ในปัจจุบันประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยได้นาเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยคุณลักษณะที่เอื้อต่อการศึกษา ทาให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีบท      บาทสาคัญต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยในหลายมิติ (ไพรัช และ พิเชฐ. 2542) ดังนี้   
เทคโนโลยีลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการ ลาของโอกาสทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการ ของโอกาสทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น “การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน (Education for All)” อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางการศึกษา เช่น การติดตั้งจานดาวเทียมในโรงเรียนในชนบทห่างไกลเพื่อให้นักเรียนได้รับโอกาสในการศึกษาที่เท่าเทียมกับนักเรียนในพื้นที่อื่นๆ การติดตั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้ครูและนักเรียนสามารถเข้าถึงสารสนเทศแหล่งข้อมูลจากทั่วโลก นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยให้ผู้พิการมีโอกาสรับการศึกษาและการประกอบอาชีพในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ 
   
http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/12340/1.jpg

           การผลิตสื่อการศึกษาในรูปแบบซีดีรอม ช่วยให้นักเรียนที่เรียนรู้ช้าได้มีโอกาสเรียนรู้ตามศักยภาพของแต่ละคน การนำเสนอสื่อการศึกษาในปัจจุบันยังมีความหลากหลาย โดยมีการนำเสนอด้วยเสียง ข้อความ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเอื้อต่อการเรียนรู้และกระตุ้นความสนใจในการศึกษาของผู้เรียนทุกวัย นอกจากนี้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality)   ยังทำช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาในวิชาชีพที่ภาคปฏิบัติมีความสำคัญ เช่น การฝึกนักบิน การสอนภาคปฏิบัติแก่นักนิสิคลินิก เป็นต้น

http://g2.s1sf.com/3/12/jpg/116/2325294.jpg

          เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนต่อการฝึกอบรม การประชุมและการติดต่อสื่อสาร เช่น การอบรม
ทางไกล(Tele-Training) การประชุมทางไกล(Tele-Conference) การประชุมผ่านอินเทอร์เน็ต(Internet  Conference) ซึ่งทาให้การฝึกอบรมประหยัดเวลาและงบประมาณ โดยไม่มีข้อจากัดด้านสถานที่ บุคลากร
และเวลา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการนำอินเทอร์เน็ตมาสนับสนุนต่อการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1199384