วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhGQQAa5y0hMjachlxjg6UH4UStlAiReL5B-stdlNlgTgbz7jKLi5oNLRInHX-RXJHJ63M35cc_OIT4btLch77aK3AUgt1qmLluvcuNyadK1HlVqvR07LqiYZ0vdZx6a2WPUl9FTkPyU7w/s1600/ds95634_2_.gif

ความหมายของสารสนเทศ

          สารสนเทศ  หมายถึง  ข้อมูล  ข่าวสาร  ที่ได้มีการจัดการไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนาณประมวลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์  ได้มีการจัดคัดสรรและนำไปใช้ให้ทันต่อความต้องการการใช้งาน  และทันเวลา

ความสำคัญของสารสนเทศ

          สารสนเทศมีความสำคัญในกาารกำหนดแนวทางในการพัฒนา  นโยบายทางด้านการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  การศึกษา  สังคม  และวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์และสังคมเพื่อเสริมสร้างความรู้อันที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตทั้งด้านการงานนั้น  อีกทั้งเป็นแนงทางในการแก้ไขปัญหา  ช่วยในการวางแผน  และช่วยตััดสินใจ  ผู้ที่รู้จักใฝ่เรียนรู้และได้รับสารสนเทศที่ดี  มีคุณค่า  และมีคาวมทันสมัยอย่างต่อเนื่อง  ย่อมมีชัยชนะเหนือผู้อื่น  ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสารสนเทศในด้านต่างๆอย่างมากมาย  ทำให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
สารสนเทศเป็นรากฐานสำคัญอย่างยิ่งในด้านต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในองค์กรของรัฐบาลและเอกชน   การศึกษาและการวิจัย  แม้แต่บุคคลทั่วไป  ทั้งนี้สารสนเทศช่วยในการถ่ายทอดวิชาการและเทคโนโลยีจากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่ง  จากหน่วยงานหนึ่งสู่อีกหน่วยงานหนึ่ง  จากประเทศหนึ่งสู่ประเทศหนึ่ง  ซึ่งเกิดจากแนวคิด  แนวทางในการเิกความรู้ใหม่  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป

ประเภทของสารสนเทศ


1. สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ
  1. แหล่งปฐมภูมิ  คือ  สารสนเทศที่ได้มาจากต้นกำเนินโดยตรง  เป็นสารสนเทศทางวิชาการ  ผลการศึกษาค้นคว้า  วิจัย  รายงาน  การค้นพบทฤษฎีใหม่ๆ
  2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ  คือ  สารสนเทศที่มีการรวบรวม  เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ  เช่น  ย่อเรื่อง  จัดหมวดหมู่  ทำดรรชนีและสารสังเขป
  3. แหล่งตติยภูมิ  คือ  สารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อใชในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ  เช่น  บรรณานุกลม  มานานุกม
       

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhpxn13l5Zq2YBV-cKicItCB_9jx_8W_VmXzvP3bRucEc8Hdnif5Ti2hOsQWZqzGz4XQx6chELiK_S7FbWlwRqb9jVeBfU95XLgn1q81dhlW4_LfnJEQZTOq2y69viH8Hsjm86PhkkJgoNQ/s320/91760it.jpg

2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ
  1. กระดาษ  เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลสารสนเทศ  รวมทั้งการเขียนและการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
  2. วัสดุย่อส่วน  เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่างๆ
  3. สื่ออิเล็กทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็กท  เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก  สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อกและดิจิตอล  เช่น  เทปวีดีทัศน์  เทปบันทึกเสียง
  4. สื่อแสงหรือสื่อออปติก  เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยแสงเรเซอร์  เช่น  ซีดี-รอม  ดีวีดี    

คุณสมบัติของสารสนเทศ

  1. สามารถเข้าถึงง่าย
  2. มีความถูกต้อง
  3. มีความคบถ้วน
  4. ความเหมาะสม
  5. ทันเวลา
  6. ชัดเจน
  7. ต้องมีความยืดหยุ่น
  8. ความน่าเชื่อถือ
  9. ไม่มีความซับซ้อน
  10. ความไม้ลำเอียง

แหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ

http://image.zoneza.com/images/53821clip_image002.jpg

          แหล่งสาสนเทสหมายถึง  แหล่งที่เกิด  แหล่งที่ผลิต  หรือแหล่งที่จัดเก็บและให้บริการทรัพยกรสารสนเทศ  ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างเป็นระบบและยังเป็นแหล่งที่ทำการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา  แหล่งสารสนเทศสามารถแบ่งได้เป็น  4  แหล่ง  ดังนี้

  1. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน  หมายถึง  สถาบันที่ตั้งขึ้นเพื่อ  จัดหา  รวบรวมวัสดุสารสสนเทศชนิดต่างๆมาเก็บไว้อย่างเป็นระบบ  เช่น  ห้องสมุด  ศูนย์สารสนเทศ  สำนักวิทยบริการ  เป็นต้น
  2. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่  คือ  แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริง  หรือสถานที่จำลอง  เช่น  ปราสาทเขาพระวิหาร  สวนส้ม  ไร่นาสวนผสม  ฟาร์มจระเข้และเมืองโบราณ  เป็นต้น
  3. สารสนเทศที่เป็นบุคคล  ได้แก่  ผู้เชี่ยวชาญ  ผู้รอบรู้ในสาขาวิชาต่างๆ  ผู้เชี่ยวชาญบางสาขาวิชาวิชาจะมาผลงานเป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆที่ผู้ใชสามารถค้นคว้าได้เอง  เช่น  นักบวช  กวี  ศิลปิน  นักปราชญ์  ราชบัณฑิต  ภูมิปัญญาชาวบ้าน  นักวิทยาศาสตร์
  4. แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์  ได้แก่กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น  เช่น  14  ตุลา  ในปี  พ.ศ.2516  งานมหกรรม  งานบุญประเพณี  เป็นต้น
  5. แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน  ซึ่งเป็นแหล่งที่มุ่งเผยแพร่สารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์  ข่าวสาร  โดยเน้นความทันสมัยต่อเหตุการณ์  รูปแบบการถ่ายทอดเสียง  ภาพและตัวอักษรโดยผ่านสื่อประเภทวิทยุ  โทรทัศน์  และหนังสือพิมพ์
  6. แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เนต  เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ซึ่งจะรวบรวบของสื่อต่างข้างต้นที่กล่าวมาทั้งหมดบทเครือข่ายอินเทอร์เนต

ทรัพยากรสารสนเทศ

           ทรัพยากรสารสนเทศ  หมายถึง  วัสดุหรือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล  จ่าวสาร  สารสนเทศ  ความรู้  และความคิดต่างๆ  หรืออาจเรียกว่า  วัสดุสารสนเทศ  แบ่งออกเป็น  3  ลักษณะ ดังนี้
  1. ทรัพกรตีพิมพ์  เป็นสารสนเทศที่มีลัษณะเป็นแผ่นหรือรูปเล่มที่ติพิมพ์ลงในกระดาษ  มีขนาดต่างๆกันและหลากหลายรูปแบบ  เช่น  หนังสือ  วารสาร  หนังสือพิมพ์  จุลสาร  และกฤตภาค  เป็นต้น
  2. ทรัพยากรที่ไม่ตีพิมพ์  คือทรัพยากรสารสนเทศที่มีลักษณะสำคัญ  ที่ให้สารสนเทศความรู้ผ่านประสาทสัมผัสทางหู  ตา  ด้วยการดูและการฟัง  เช่น  ทัศนวัสดุ  โสตวัสดุ  โสตทัศนวัสดุ
  3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์  หมายถึง  การจัดเก็บสารสนเทศที่อยู่ในรูปของดิจิทัล  ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์  สามารถบันทึกสารสนเทศได้ทั้งตัวที่เป็นตัวอักษร  ตัวเลข  สัญลักษณ์  ภาพนิ่ง  ภาพเครื่อนไหว  ได้แก่  ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์  โดยจำแนกเป็น
    • ฐานข้อมูลออฟไลน์  เป็นสารสนเทศที่สื่อสารกับได้เฉพาะคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดเท่านั้น  หากต้องการใชสารสนเทศข้ามเครื่องจะต้องบันทึกสัญญาณดิจิทัลลงในสื่อ  เช่น  แผ่นดิสก์เก็ต  แผ่นซีดี  หรือรีมูฟเอเบิลไดรว์
    • ฐานข้อมูลออลไลน์  เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบ  เพื่อความสดวกในการจัดเก็บและค้นหาสารสนเทศ  โดยผู้ใช้สามารถสืบค้นได้จากระบบเครือข่ายที่จัดให้บริการ