วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 บทบาทของสารสนเทศกับสังคม

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiQDGtk5_tDHO2fbiGAxEvVSU-I5Evl6-mJU0DQUxQqIRoWWIPmCneK8_fMBg7K-m98XRg8Fl9TaXi4KMXW7Ks63pVo1VBGSyWYlJlXbFdIKMmdFMMLPY_NtAvKi5lkQuRHD3-JeA0ZVf4/s1600/pic1_01_1.jpg

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน


         ในภาวะปัจจุบันนั้นสารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานปัจจัยที่ห้า เพิ่มจากปัจจัยสี่ประการที่มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดารงชีวิตประจาวัน ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำเป็น ในการประกอบธุรกิจ ในการค้าขาย การผลิตสินค้า และบริการ หรือการให้บริการสังคม การจัดการทรัพยากรของชาติ การบริหารและปกครอง จนถึงเรื่องเบาๆ เรื่องไร้สาระบ้าง เช่น สภากาแฟที่สามารถพบได้ทุกแห่งหนในสังคม เรื่องสาระบันเทิงในยามพักผ่อน ไปจนถึงเรื่องความเป็นความตาย เช่น ข่าวอุทกภัย วาตภัย หรือการทารัฐประหารและปฏิวัติ เป็นต้น

         เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ เรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สารสนเทศ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้ การจัดหา วิเคราะห์ ประมวล และจัดการกับข่าวสารข้อมูลจำานวนมหาศาล

         เทคโนโลยีเป็นยุทธศาสตร์สำคัญแห่งยุคปัจจุบันและในอนาคตก็คือ ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถภาพในเกือบทุกๆ กิจกรรม  ดังนี้

  1. การลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย
  2. การเพิ่มคุณภาพของงาน 
  3. การสร้างกระบวนการหรือกรรมวิธีใหม่ๆ 
  4. การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ขึ้น 
         ภาคสังคม  การบริหารและปกครอง การให้บริการพื ้นฐานของรัฐ การบริการสาธารณสุข การบริการการศึกษา การให้บริการข้อมูลและสาระบันเทิง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การบรรเทาสาธารณภัย การพยากรณ์อากาศและอุตุนิยม ฯลฯ
         ภาคเศรษฐกิจ การเกษตร การป่าไม้ การประมง การสารวจและขุดเจาะน้ำามันและกาซธรรมชาติ  นามันและกาซธรรมชาติ  มันและกาซธรรมชาติ การสารวจแร่และทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนและใต้ผิวโลก การก่อสร้าง การคมนาคมทั้งทางบก น้ำและอากาศ การค้าภายในและระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมบริการ อาทิ ธุรกิจการท่องเที่ยว การเงิน การธนาคาร การขนส่ง และการประกันภัย ฯลฯ
         ผลประโยชน์ต่างๆ จากการประยุกต์ใช้ของเทคโนโลยีดังกล่าว ล้วนเกิดจากคุณสมบัติพิเศษหลายๆ ประการของเทคโนโลยีกลุ่มนี้ อันสืบเนื่องจากการพัฒนาของ เทคโนโลยีที่มีอัตราสูงและอย่างต่อเนื่องตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีนี้ส่งผลให้ 
  1. ราคาของฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ รวมทั้งค่าบริการ สาหรับการเก็บ การประมวล และการแลกเปลี่ยนเผยแพร่สารสนเทศมีการลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว 
  2. ทาให้สามารถนาพาอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งคอมพิวเตอร์และ โทรคมนาคมติดตามตัวได้ เนื่องจากได้มีพัฒนาการการย่อส่วนของชิ้นส่วน (miniaturization) และพัฒนาการการสื่อสารระบบไร้สาย
  3. ประการท้าย ที่จัดว่าสาคัญที่สุดก็ว่าได้คือ ทาให้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมุ่งเข้าสู่จุดที่ใกล้เคียงกัน (converge) ประเทศอุตสาหกรรมในโลกได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยียุทธศาสตร์กลุ่มนี้ จึงให้ความสาคัญต่อเทคโนโลยีนี้มากกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่จัดเป็นเทคโนโลยียุทธศาสตร์สาคัญอีกหลายกลุ่ม ดังเช่นกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ได้ศึกษาเปรียบเทียบ ศักยภาพของเทคโนโลยีไฮเทค 5 กลุ่มสาคัญในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ในประเด็นผลกระทบสาคัญ 5 ประเด็น ได้แก่   
               1) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ  
               2) การปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ
               3) การยอมรับจากสังคม 
               4) การนาไปใช้ประยุกต์ในภาค/สาขาอื่นๆ 
               5) การสร้างงานในทศวรรษปี 1990 ปรากฏว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับใน                          ศักยภาพสูงสุดในทุกๆ ประเด็น

 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม


          ในปัจจุบันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นอุตสาหกรรมผลิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก   มีการประมาณการว่าตลาดโลกสาหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์โทรคมนาคม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะมีขนาด 1,600 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 1994 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงร้อยละ 20 ต่อป
          การลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทาให้เกิดศักยภาพในการแข่งขัน จึงย่อมส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของนานาประเทศ จากผลการศึกษาใน 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก   ซึ่งมีทั้งประเทศที่ถือว่าพัฒนาแล้ว พัฒนาใหม่ และกาลังพัฒนา
         ในช่วงทศวรรษที่แล้ว หลายประเทศมีความวิตกว่าเทคโนโลยีนี้จะลดการว่าจ้างงาน และทาให้เกิด
ปัญหาการตกงานอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ชี้ให้เห็นถึงความสาคัญของการใช้เทคโนโลยีนี้ในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและในการสร้างกิจกรรมใหม่ๆ จนกล่าวไดว่าในทางสังคมแล้ว เทคโนโลยีนี้จะช่วยเพิ่มการจ้างแรงงานโดยรวมมากกว่าจะลดตามที่เข้าใจกัน ปัจจุบันประเทศกาลังพัฒนาต่างเริ่มตระหนักถึง บทบาทของเทคโนโลยีนี้ต่อการพัฒนาสังคมตามประเทศที่พัฒนาแล้ว และเล็งเห็นว่ามันสามารถจะก่อเกิดประโยชน์ต่างๆ นานา เช่น ทาให้การบริการที่หน่วยงานต่างๆ ของรัฐให้แก่ประชาชนมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่ต้นทุนตาลง  ลดต้นทุนการบริการสาธารณสุขขณะทเพิ่มปริมาณและคุณภาพของบริการสู่ประชาชนที่ยังไม่ได้รับบริการอย่างทั่วถึง และ สร้างโอกาสให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าและทุกวัยได้รับการศึกษาและฝึกอบรมอย่างกว้างขวาง เป็นต้น

         การใช้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถจะเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ในด้านต่างๆ แม้ว่าหากมองเฉพาะในขอบเขตของงานนั้นๆ ระบบคอมพิวเตอร์ อาจจะลดปริมาณการว่าจ้างงานเปรียบเทียบกับเมื่อไม่ใช้เทคโนโลยี แต่หากมองโดยรวมแล้ว การที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนสำาคัญ ช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูง ย่อมส่งผลให้เกิดการสร้างงานที่เพิ่มตามมา ข้อมูลในประเทศสหรัฐฯ
ตลอดกว่าศตวรรษที่ผ่านมา พบว่าการจ้างงานมิได้ลดลงจากการใช้เทคโนโลยี เริ่มต้นจากเครื่องจักรไอน้ำจวบจนเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน แต่กลับเพิ่มถึง 10 เท่าตัว จาก 12 ล้านคนในปี 1870 เป็น 116 ล้านในปี 1985 คิดเป็นอัตราส่วนจากร้อยละ 31 เป็นร้อยละ 48 ของประชากรทั้งหมด อีกทั้งบริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่กำาลังเกิดขึ้นหรือจะเกิดในอนาคตสืบเนื่องจากเทคโนโลยีนี้ ก็ยังจะนำาไปสู่การสร้างงานใหม่ๆ ตามมามากมายอีกด้วย เป็นต้นว่า ผู้เชี่ยวชาญได้คาดการณ์ว่าบริการโทรคมนาคมไร้สายต่างๆ ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศสหรัฐฯ จะสามารถสร้างงานเพิ่มขึ้นถึง 3 แสนคน ภายในระยะ 10-15 ปีข้างหน้า


สารสนเทศกับบุคคล 


          การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่มมากขึ้น สารสนเทศมีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง  และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยา และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องใกล้ชิดและเกี่ยวพันกับชีวิตประจาวันของมนุษย์ เช่น การถอนเงินอัตโนมัติ (ATM: Automatic Teller Machine) ธนาคารอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Banking) การซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ (e-Commerce) การประชุมทางไกล (Tele-Conference) การศึกษาทางไกล (Tele-Education) ระบบห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) การเข้าถึงบริการและสารสนเทศต่างๆ ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น 

สารสนเทศกับสังคม

  • ด้านการศึกษา มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูผู้สอนทำาหน้าที่เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ  และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง  ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา  สารสนเทศที่ดีมีคุณค่าและทันสมัย
  • ด้านสังคม ช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำามาซึ่งความสะดวกสบายในการดำาเนินชีวิต 
  • ด้านเศรษฐกิจ  ช่วยประหยัดเวลาในการผลิต ลดขั้นตอนการลองผิดลองถูก อีกทั้งช่วยให้องค์กรได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ตามความต้องการของตลาด 
  • ด้านวัฒนธรรม การสื่อสารไร้พรมแดนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำาให้ได้รับสารสนเทศจากทั่วโลก การสื่อสารกับผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกทำาได้อย่างเป็นปัจจุบัน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจึงมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เป็นสังคมโลก กล่าวคือมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด ในขณะที่ทุกแขนงวิชาและอาชีพก็จำาเป็นต้องปรับปรุงกลไกในวิชาชีพให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน

บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา


        ในปัจจุบันประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยได้นาเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยคุณลักษณะที่เอื้อต่อการศึกษา ทาให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีบท      บาทสาคัญต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยในหลายมิติ (ไพรัช และ พิเชฐ. 2542) ดังนี้   
เทคโนโลยีลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการ ลาของโอกาสทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการ ของโอกาสทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น “การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน (Education for All)” อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางการศึกษา เช่น การติดตั้งจานดาวเทียมในโรงเรียนในชนบทห่างไกลเพื่อให้นักเรียนได้รับโอกาสในการศึกษาที่เท่าเทียมกับนักเรียนในพื้นที่อื่นๆ การติดตั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้ครูและนักเรียนสามารถเข้าถึงสารสนเทศแหล่งข้อมูลจากทั่วโลก นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยให้ผู้พิการมีโอกาสรับการศึกษาและการประกอบอาชีพในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ 
   
http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/12340/1.jpg

           การผลิตสื่อการศึกษาในรูปแบบซีดีรอม ช่วยให้นักเรียนที่เรียนรู้ช้าได้มีโอกาสเรียนรู้ตามศักยภาพของแต่ละคน การนำเสนอสื่อการศึกษาในปัจจุบันยังมีความหลากหลาย โดยมีการนำเสนอด้วยเสียง ข้อความ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเอื้อต่อการเรียนรู้และกระตุ้นความสนใจในการศึกษาของผู้เรียนทุกวัย นอกจากนี้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality)   ยังทำช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาในวิชาชีพที่ภาคปฏิบัติมีความสำคัญ เช่น การฝึกนักบิน การสอนภาคปฏิบัติแก่นักนิสิคลินิก เป็นต้น

http://g2.s1sf.com/3/12/jpg/116/2325294.jpg

          เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนต่อการฝึกอบรม การประชุมและการติดต่อสื่อสาร เช่น การอบรม
ทางไกล(Tele-Training) การประชุมทางไกล(Tele-Conference) การประชุมผ่านอินเทอร์เน็ต(Internet  Conference) ซึ่งทาให้การฝึกอบรมประหยัดเวลาและงบประมาณ โดยไม่มีข้อจากัดด้านสถานที่ บุคลากร
และเวลา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการนำอินเทอร์เน็ตมาสนับสนุนต่อการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1199384

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น