วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/304/855/large_inter1.gif?1289121555


ผลกระทบองเทคโนโลยีสารสนเทศ


  • ผลกระทบทางบวก
         1) เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการและการผลิต ชีวิตคนในสังคมได้รับความสะดวกสบาย เช่น การติดต่อผ่านธนาคารด้วยระบบธนาคารที่บ้าน (Home Banking)
         2) เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น โดยสามารถเอาชนะเรื่องระยะทาง เวลา และสถานที่ได้ ด้วยความเร็วในการติดต่อสื่อสารที่เป็นเครือข่ายความเร็วสูง และที่เป็นเครือข่ายแบบไร้สายทำให้มนุษย์แต่ละคนในสังคมสามารถติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็ว
        3) มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในฐานข้อมูลความรู้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์ 
        4) เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือคนพิการให้สามารถพัฒนาทักษะและความรู้ได้
        5) พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Learning : CAL) 
        6) การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือช่วยลดเวลาในการทำงานให้น้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น เช่น การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) 
        7) ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสิ้นค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่และหลากหลายมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามต้องการ และช่องทางทางการค้าก็มีให้เลือกมากขึ้น
  • ผลกระทบทางลบ
        1) ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม เช่น  เครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์ทำให้คนตกงาน การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาแทนมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรมก็เพื่อลดต้นทุนการผลิต และผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
         2) ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก เช่น พฤติกรรมที่แสดงออกทางค่านิยมของเยาวชนด้านการแต่งกายและการบริโภค 
         3) ก่อให้เกิดผลด้านศิลธรรม เช่น เกิดการลอกเลียนแบบ อยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ๆ ที่ผิดศิลธรรม จนกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องในกลุ่มเยาวชน เมื่อเยาวชนปฏิบัติต่อๆ กันมาก็จะทำให้ศิลธรรมของประเทศนั้นๆเสื่อมสลายลง 
         4) การมีส่วนร่มของคนในสังคมลดน้อยลง
         5) การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
         6)  เกิดช่องว่างทางสังคม
         7) เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี คนที่ทำงานด้วยวิธีเก่าๆ ก็เกิดการต่อต้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เกิดความรู้สึกหวาดระแวงและวิตกกังวล เกรงกลัวว่าตนเองด้อยประสิทธิภาพ จึงเกิดสภาวะของความรู้สึกต่อต้าน กลัวสูญเสียคุณค่าของชีวิตการทำงาน
         8) อาชญากรรมบนเครือข่าย เช่น ไวรัสเครือข่ายการแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ ก่อให้เกิดการหลอกลวง และมีผลเสียติดตามมาลักษณะของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่รู้จักกันดีได้แก่ แฮกเกอร์ (Hacker) และแครกเกอร์ (Cracker) 
         9) ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ  เช่น โรคคลั่งอินเตอร์เน็ต เป็นโรคที่เกิดขึ้นในคนรุ่นใหม่ลักษณะ คือ แยกตัวออกจากสังคมและมีโลกส่วนตัว ไม่สนใจสภาพแวดล้อมก่อให้เกิดอาการป่วยทางจิตคลุ้มคลั่งสลับซึมเศร้า

http://www.thaigoodview.com/files/u42501/50.jpg


ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

  • มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์
         ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้ เราจะต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจถึงผลกระทบทางสังคมที่จะเกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่นเราอาจต้องการหาคำตอบว่า การที่มนุษย์ใช้โทรศัพท์มือถือ ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือไม่มีความจำเป็นต้องจดจำหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่ต้องการติดต่อด้วยอีกต่อไปหรือเราอาจต้องการหาคำตอบว่า อินเตอร์เน็ตมีผลอย่าไรต่อการศึกษา หรือคำตอบจากคำาถามที่ว่า โทรทัศน์วงจรปิดกระทบกับสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่

  • มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีกระทบซึ่งกันและกัน
          ภายใต้มุมมองแบบนี้ มีความเห็นว่าสังคมส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยี ทั้งนี้โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ เป็นเหตุปัจจัยในการออกแบบเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ งานได้ในขณะเดียวกัน มีผลมาจากประเด็นทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประหยัดทรัพยากรของหน่วยประมวลผลกลาง หรืออีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ กระแสความต้องการการสื่อสารที่รวดเร็วได้ผลักดันให้เกิดอินเตอร์เน็ตขึ้น

  • มุมมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลไกในการดำารงชีวิตของมนุษย์
         ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้จะมองว่าเทคโนโลยีสานสนเทศจะเป็นกลไกรสำคัญในการกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ จะถูกกำหนดว่าเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีซึ่งในโลกนี้ก็มีเทคโนโลยีการสื่อสารอย่าหลายรูปแบบแต่เทคโนโลยีที่มีความเสถียร จะเป็นทางเลือกและมนุษย์จะใช้เป็นกลไกในการดำรงชีวิต ดังเช่น คนที่มีและคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ จะแตกต่างจากคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว การที่มีโทรศัพท์มือถือแสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่สารมารถติดต่อได้สะดวก และเข้าถึงได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว จะเห็นได้ว่ากลไกรการดำรงชีวิตของคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ และไม่ใช้โทรศัพท์มือถือนั้นแตกต่างกัน เช่นเดียวกัน กลไกรในการดำรงชีวิตของสังคมที่ใช้อินเตอร์เน็ต ก็จะแตกต่างจากสังคมที่ไม่ใช้อินเตอร์เน็ต เป็นต้น

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic) ในตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น และในขณะเดียวกันยังตั้งใจที่ทำกิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ
  2. สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพึงรำลึกอยู่เสมอว่าในสังคมของเราวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควรเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือที่จะอำนวยความสะดวกเท่านั้น 
  3. ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าวัฒนธรรมที่ดีไว้ เป็นสิ่งจำเป็นในยุคสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น
  4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน ผู้รับผิดชอบในการจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและสมาชิกของสังคมพึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศแหลหาทางป้องกันภัยอันตรายเหล่านั้น
  5. ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
  6. ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย

ประเด็นพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

  • ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และทฤษฎีเรื่องจริยธรรม
         ข้อถกเถียงในเรื่องของจริยธรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นข้อโต้เถียงเพื่อที่จะหาสมดุลระหว่างจุดยืน ค่านิยม และสิทธิ ซึ่งสมดุลเหล่านี้ย่อมแตกต่างไปตามสภาพของแต่ละสังคม ยกตัวอย่างเช่น เราจะใช้แนวทางใดเพื่อปกป้องเยาวชนของเราเมื่อพวกเขาเข้าสู่สังคมอินเทอร์เน็ตแนวทางที่กำหนดขึ้นนี้มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างไร หรืออาจจะเป็นข้อถกเถียงในลักษณะแนวนโยบายในการคุ้มครองผู้ผลิตสินค้าดิจิตอลที่มีผลต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังซื้อและการใช้สินค้าไอที เป็นต้น

  • เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและการเมือง
          ผู้ผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศควรจะคำนึงถึงผลกระทบทางด้านจริยธรรมและการเมืองไว้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเอทีเอ็มที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้ได้กับคนปกติได้แต่ไม่สารมารถใช้งานได้กับคนตาบอด หรือคนพิการที่อยู่บทรถเข็น หรือคนที่มีปัญหาในการจำ ผลจากการออกแบบตู้เอทีเอ็มอย่างทุกวันนี้ ทำให้คนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ กรณีนี้จะเป็นการจำกัดสิทธิที่บุคคลพึงมีพึงได้ และจะเป็นปัญหาทางด้านจริยธรรม ที่อาจส่งผลกระทบทางด้านการเมืองหรือไม่ เป็นกรณีศึกษาที่พึงพิจารณา

  • เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์
          ในโลกเสมือนจริง การโต้ตอบสื่อสารผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถที่จะสร้างหรือกำหนดตัว
ตนขึ้นมาในโลกเสมือนได้อย่างไร้พรมแดน ผู้คนสามารถสร้างตัวตนในโลกเสมือนได้ไม่จำกัด โดยสร้างหรือแสดงให้ผู้อื่นจินตนาการหรือคิดให้ตัวตนใหม่นี้เป็นอย่างไรก็ได้ตามที่กำหนด โดยตัวตนที่แท้จริงอาจถูกซ่อนเร้นไว้ ดังตัวอย่างเช่น คนไม่สวยอาจถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นคนสวย คนอ้วนอาจถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นคนหุ่นดี อย่างไรก็ตามภายใต้โลกเสมือนนี้สามารถถูกทำให้เป็นส่วนหนึ่งแบ่งแยกออกจากสังคมจริงที่ยึดติดอยู่กับประเพณีและความคิดที่ถูกถ่ายทอดติดต่อกันมา การเข้ามาอยู่ในโลกเสมือนนี้ทำให้มีโอกาสได้แสดงตัวตน หรือแสดงความคิดเห็น โดยปราศจากการต่อต้าน หรือความลำเอียงในจิตใจ

การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

           ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นแกนกลางในการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน โดยมีกรอบสาระของกฎหมายในเรื่องต่างๆ ดังนี้
            ก. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) สาระของกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การ
คุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว ไม่ให้มีการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ
            ข. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Relate Crime) วัตถุประสงค์ของกฎหมาย
นี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร
            ค. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้มุ่งเน้น
ให้การคุ้มครองการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            ง. กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI) 
วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้เพื่ออำนวยการให้มีการทำนิติกรรมสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
            จ. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้
เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คู่กรณีในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการลงลายมือชื่อ
            ฉ. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer) วัตถุประสงค์ของกฎหมาย
นี้ก็เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโอนเงิน
            ช. กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law) วัตถุประสงค์เพื่อจัดการเปิดเสรีให้มีการ
แข่งขันที่เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ อนุญาตให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง
            ซ. กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
            ฌ. กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเทอร์เน็ต
            ญ. กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjnPCDpP3RUQj4hHgWwwLcvnfpCK_NEX8dWCqtVQ9K92ehAtLKxm3R6uHoHT5G4q7WUCFbjqNGlT_8dheHNoCF67HWQ3F5N_QYd9NfnxO6A0qxU7dFr0HfBHUPeyu9JhRLPcNOpQ7bxuS4/s1600/4962712.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น