วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjoDM-6cUC5j5bE8QEbzu9ojhdk6exdGPUIwZJeGQE8hOpBjkUBRGXlydFMSKItje8jFjZdbG9FBXLxAPDjfD6uJwOgQRrJQQL5wpZVna7QqR2zMJeLj-Ij6TCG0GgvPVp76LCnFMctAfI/s1600/globalnetwork.jpg


ขอบข่ายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

           1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System)  เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ และทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และให้สารสนเทศสรุปเบื้อง
ต้นของการปฏิบัติงานประจำวันโดยมากจะนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลมากขึ้นระบบประมวลผลรายการนี้มักเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้าหรือบุคคลภายนอก
มากติดต่อกับ กิจการ เช่น การจองบัตรโดยสารเครื่องบิน การฝาก-ถอนอัตโนมัต
            2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง เพื่อใช้ในการวางแผน บริหารจัดการและควบคุมงาน โดยทั่วไประบบนี้จะเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในระบบประมวลผลเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
            3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)  เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหาที่อาจมีโครงสร้างหรือขั้นตอนการหาคำตอบที่แน่นอนตายตัวเพียงบางส่วนหรือเป็นกรณีเฉพาะ หลักการของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสร้างขึ้นจากแนวคิดการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ใช้โต้ตอบตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ตลอดเวลา โดยอาศัยประสบการณ์วิจารณญาณ และความสามารถของผู้บริหารเอง โดยอาจจะใช้การจำลองแบบ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยไม่ต้องเสี่ยงกระทำในสภาพจริง


หน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ 

  • ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันอย่างรวดเร็ว ทั้งโทรศัพท์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต ฯลฯ   
  • เทคโนโลยีสารนิเทศใช้ในการจัดระบบข่าวสาร ซึ่งผลิตออกมาแต่ละวันเป็นจำนวนมหาศาล  
  • ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกไม่ว่าจะใช้กี่ครั้งก็ตาม 
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรในด้านการคำนวณ
    ตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ 
  • ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารสนเทศ
  • สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองผลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น 
  • อำนวยความสะดวกใน “การเข้าถึงสารสนเทศ” (ACCESS) ดีกว่าสมัยก่อนทำให้บุคคลและองค์กร
    มีทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า 
  • ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 

             การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาหลายเรื่องด้วยกันได้แก่  การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ ระบบประมวลภาพลักษณ์ ระบบประชุมทางไกล การวางแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานขนาดใหญ่ระดับกระทรวง กรม หรือบริษัทขนาดใหญ่จำเป็นจะต้องมีแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแผนที่สำหรับนำไปสู่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดมาตรฐานเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง การใช้ซอฟต์แวร์เป็นมาตรฐานเดียวกันจะทำให้หน่วยงานทำงานได้สะดวกขึ้น ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรมากนัก การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดองค์กร การบริหารงานพัฒนาระบบ การจัดการผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  การจัดการข้อมูล การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร  และการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


              1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน เช่น งานจัดเก็บเอกสาร ได้แก่ การใช้เครื่องประมวลผลคำ (Word Processing) เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียมอุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำานี้จำาแนกได้ 2 ระบบคือ  ระบบ Stand - Alone เป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ภายในคอมพิวเตอร์ชุดเดียว โดยไม่ผ่านช่องทางการสื่อสาร และระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ เครือข่ายสารสนเทศ เป็นต้น
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEipFryDfdroCrm9qkLBiVYWKlmXKjTeBh-S8iLHZiFhvMErFbeoa01dqIEQ60MlyuizDkqE2Y_jb2e9P_DyTDY8UttkZsWlP8nh3fqI1GhX5O9bpw8bBTE_Y5tQkqxWUtFm0yZudH_s-WlY/s1600/account_online_flow_enlarge.jpg

              2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) เข้ามาช่วยจัดการด้าน
ผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ ในโรงงาน MIS
               3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ สถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝากถอน โอนเงิน
               4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการบริการการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) 
               5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสาธารณสุข สามารถนำมาประยุกต์ได้หลายด้าน ได้แก่ ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS) เป็นระบบที่ช่วยด้าน Patient record หรือ เวชระเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน ระบบสาธารณสุข ใช้ในการดูแลป้องกันโรคระบาดในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยเป็นอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์วินิจฉัยโรค และเริ่มผู้นำมาประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ มากขึ้น เลยไปถึงเรื่องโรคพืชและสัตว์หลักการที่ใช้ คือ เก็บข้อมูลต่างๆไว้ให้ละเอียด แล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์หรือ Artifcial intelligence :AI มาช่วยวิเคราะห์ เป็นแนวคิดในการทำคอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนคน 
               6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา  เช่น  การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) การศึกษาทางไกล เครือข่ายการศึกษาเป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษา เพื่อให้ครู อาจารย์ และนักเรียนนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมายในโลก และใช้บริการต่างๆ การใช้งานห้องสมุด ในปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน  การใช้งานในห้องปฏิบัติการ การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษา การเลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กาแนะแนวอาชีพ และศึกษาต่อ ข้อมูลผู้ปกครอง หรือ ข้อมูลครู

ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software)

            ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม  คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้คนสามารถนัดพบปะ เชื่อมสัมพันธ์หรือทำงาน
ร่วมกันโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง เกิดเป็นสังคมหรือชุมชนออนไลน์ คำนี้มีความหมายมากกว่าสื่อเก่าๆ   อย่าง Mailing List และ UseNet กล่าวคือหมายรวมถึง E-mail,  msn, instant messaging, web, blog 
และ wiki  สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกันเรียกว่า collaborative software ในการศึกษาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น  เราต้องทำความเข้าใจกับคำว่า ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมก่อน ส่วนการจำแนกกลุ่มของซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น ในตอนนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และ กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการจัดการความรู้ เครื่องมือที่จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมมีลักษณะการใช้ประโยชน์ร่วมกันในสังคมมนุษย์ เช่น การติดต่อสื่อสาร การแบ่งปันความรู้  การจัดการความรู้

ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
            
             เครื่องมือซอฟต์แวร์สังคม สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร 
และเครื่องมือเพื่อการจัดการความรู้ 
        1)  เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารสองฝ่ายไม่พร้อมกัน (asynchronous) คือไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน  ตัวอย่างเช่น การใช้ E-mail , Web 
board , Newsgroup เป็นต้น และอีกประเภทหนึ่งคือ เครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารคนสองคนหรือเป็นกลุ่มแบบสองฝ่ายพร้อมกัน (synchronous ) เช่น การสนทนาผ่านโปรแกรม Chat , ICQ , MSN  เป็นต้น 
        2) เครื่องมือเพื่อการสร้างการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในกลุ่มที่ใช้เพื่อประโยชน์
เพื่อการจัดการความรู้  มีหลายอย่าง  โดยแบบเบื้องต้นเช่น การสืบค้นข้อมูล  ส่วนในระดับถัดมา เป็น
เครื่องมือเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกัน  รวมทั้งให้ความรู้ และสร้างความรู้ใหม่ เช่น Wiki , Blog เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ในการการปฏิสัมพันธ์ต่างจากเครื่องมือเพื่อการสื่อสาร ตรงที่เครื่องมือเพื่อการปฏิสัมพันธ์นี้มุ่งเน้นเพื่อเสริมสร้างการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ใช้โดยอาศัยกลไกของการพูดคุยสนทนากัน 

การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคม

              ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software) ใช้ประโยชน์ในการประมวลทางสังคม (Social computing) ในยุคที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นทุนในการพัฒนาสังคม ในยุคนี้มีความจำเป็นจะต้องสร้างระบบที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากสมาชิกในสังคมให้มากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมใหม่ให้กับภาคประชาสังคม บล็อก (blog) หรือที่บางคนเรียกว่ากล่องข้อความ เป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่สามารถใช้เพื่อการเสนอ (Post) ข้อความต่อผู้อื่นในสังคม โดยสามารถให้ผู้อ่านบล็อกมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น (comment) ต่อข้อความที่เสนอได้  ปัจเจกวิธาน (folksonomy) เป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่สามารถใช้ประโยชน์ในการจัดหมวดหมู่ แห่งสรรพสิ่งที่ผู้ใช้สนใจ  การเปิดโอกาสปัจเจกบุคคลได้มีโอกาสในการสื่อสารต่อสาธารณะเพื่อประมวลสังคมของพวกเขาได้ด้วยตนเอง  การค้นหาความรู้ การจัดเก็บความรู้ด้วยวิธีการสร้างฐานความรู้ (Knowledge base) และในกระบวนการแบ่งปันความรู้ก็มีการส่งเสริมการนำซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกันดังเช่นกรุ๊ฟแวร์ (groupware)มาใช้ประโยชน์็๋ 

การสืบค้นสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต

           ลักษณะรูปแบบการค้นหาสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต มี 3 ลักษณะ คือ
            
           1) การค้นแบบนามานุกรม (Directory) หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด เช่น www.yahoo.com  www.lycos.com  www.sanook.com www.siamguru.com

http://www.bloggang.com/data/all4u/picture/1208572590.jpg

              2)  การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคำสำคัญ (Keywords) เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ (Keyword) ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนีค้นที่เรียกว่า Spider หรือ Robot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ  เช่น การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator) เป็นต้น
             3) การค้นหาแบบ Meta search Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) 



               
             เครื่องมือประเภทใช้โปรแกรมค้นหา (Search engines)
             โปรแกรมค้นหาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ ค้นคืนสารสนเทศบน World Wide Web กันอย่างแพร่หลาย จัดทำดรรชนีของเนื้อหาเอกสารบนเว็บไซต์ทีละหน้าโดยจัดทำดรรชนีด้วยเครื่องกล (machine 
indexing หรือ automatic indexing) ซึ่งเรียกว่า  spider, robot หรือ crawlers  ข้อดีของการใช้โปรแกรมค้นหาคือ ครอบคุลมเนื้อหากว้างขวางและละเอียดเนื่องจากจัดทำดรรชนีทีละเว็บเพจ และ ฐานข้อมูลมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นปัจจุบันตลอดเวลา  แต่ข้อจำกัดของการค้นด้วยโปรแกรมค้นหาคือ ความเกี่ยวข้องของผลการสืบค้นน้อย เนื่องจากการจัดทำดรรชนี จัดทำโดยอัตโนมัติจากการนับจำนวนคำที่ปรากฏในส่วนแรกของเว็บเพจ และอาจปรากฏผลการสืบค้นซ้ำจากเว็บไซต์เดียวกัน ตัวอย่างเครื่องมือชนิดนี้ ได้แก่ Lycos (http://www.lycos.com) Asks (http://www.asks.com) Hotbot (http://www.hotbot.com) Google (http://www.google.com) 

http://cdn.redmondpie.com/wp-content/uploads/2009/11/TryOuttheNewGoogleSearch_D0C/NewGoogleSearch.jpg






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น